วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

ผู้นำ (ซุน ยัดเซ็น)


  • ถ้าทำเป็นแต่การมองเห็นปัญหา  เรียกว่า  "โหร"
  • ถ้ามองออกแต่การแก้ปัญหา        เรียกว่า  "เสนาธิการ"
  • ถ้ามีศักยภาพ กล้าทำ             เขาเรียกว่า  "นักเลง"
  • แต่ถ้ามีครบหมดทุกข้อและรู้เท่าทันกระแสโลก สามารถก้าวไปให้ทันโลกได้ เรียกว่า "ผู้นำ"

ผู้นำ (นิพนธ์ เรื่อง สามกรุง)

           ใคร ๆ ใคร่ซอกซ้อ     ซอนคำ บ้างเอย   
          เค้าเคล็ดเท็จจริงอำ    อิตถ์อ้าง
          สมญาว่า "ผู้นำ"          คนชนิดไหนหนอ
          ชี้เช่น เป็นนายห้าง     แห่งบ้านเมืองคน

ยุคเข็ญเห็นแน่แท้       นรไทย
ว่าจะต้องมีใคร            สักผู้
ซึ่งปวงประชาใจ         จงรัก
ยอมเชื่อยอมฟังรู้        ว่าไร้ใจโกง

          ผู้นำจำต้องเฟื่อง       ฟูปัญ  ญาแฮ
          ใครชั่วใครดีทัน         เท่ารู้
          บำบัดอัตตเหตุอัน     เอือมจิต
          รู้ระมัดตัดโลภผู้         พวกพ้องของตน

น.ม.ส. 

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563

ผงชูรสทำให้อาหารอร่อยจริงหรือ

          ผงชูรสเป็นสารปรุงแต่งรสอาหารชนิดหนึ่งที่กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไทย  บางคนมีความรู้สึกว่าอาหารจานใดที่ไม่ได้ใส่ผงชูรส จะไม่อร่อยเลย   ผงชูรส คือวัตถุที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เรียกว่า " โมโนโซเดียมกลูตาเมท (MSG ; Mono Sodium Glutamate) ผงชูรสแท้มีลักษณะเป็นเกล็ดที่มีรูปร่างเป็นแท่างสี่เหลี่ยมปลายข้างหนึ่งเล็ก หรือปบลายทั้งสองข้างใหญ่กว่าตรงกลางคล้ายกระดูก มีสีขาวค่อนข้างทึบ
         โมโนโซเดียมกลูตาเมทจะมีรสของเนื้อต้ม  ผู้ชำนาญในการชิมอาหาร ได้ให้ความเห็นว่า  ผงชูรสมีหลายรสรวมกันอยู่ ทั้งเปรี้ยว เค็ม หวาน และขม  นอกจากนี้ โมโนโซเดียมกลูตาเมท ยังสามารถกระตุ้นประสาทในปากและลำคอ ทำให้รู้สึกอร่อยขึ้นได้อีกด้วย  แต่การปรุงรสอาหารโดยผงชูรสนั้น ควรระมัดระวังในเรื่องปริมาณที่ใช้  องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า "ใน 1 วัน เราควรให้ผงชูรสเข้าร่างกายไม่ควรเกิน 120 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.  ดังนั้น คนที่น้ำหนัก 50 กก. ก็ไม่ควรรับประทานเกิน 6 กรัม ต่อวัน หรือประมาณ 1 ช้อนชา  เพราะถ้ามากกว่านั้น จะเกิดอาการ ร้อน ชา ที่ต้นคอ และที่หลัง  อ่อนเพลีย และอาเจียน อาการแพ้นี้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล  บางคนเมื่อรับประทานเขาไปเพียงเล็กน้อยก็แพ้ได้  บางคนได้รับเกินกว่า 10 กรัมแล้ว ยังไม่แพ้เลยก็ได้
..............................

การรักษาคำพูด / รักษาสัญญา

      การรักษาคำพูดให้น่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนับได้ว่าเป็นรากฐานชีวิตที่มีอิทธิพลทั้งต่อตนเองและผู้อื่นและต่อประเทศชาติด้วย เราต้องคิดใคร่ครวญตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะพูด หรือสัญญาสิ่งใดออกไป  และเมื่อตัดสินใจพูดไปแล้ว จะต้องรักษาสิ่งนั้นอย่างสุดความสามารถ  แม้ว่าจะต้องฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคก็ยังต้องใช้ความมานะ หรือความพยายามที่จะรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับผู้อื่นอย่างถึงที่สุด
   
       ก่อนที่จะรับปากใคร หรือพูดสิ่งใดออกไป จำเป็นต้องมีการคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ตามข้อเท็จจริงและเหตุผลความเป็นไปได้ที่มีอยู่เสียก่อน  เราไม่ควรรับปากใครบนพื้นฐานของความเกรงใจ หรือรับปากไปตามอารมณ์ความรู้สึกขณะนั้น และที่สำคัญ เราต้องกล้าพูดความจริงว่า เราสามารถรักษาคำพูดได้หรือไม่  เพื่อเราจะได้ไม่ต้องเสียใจที่จะต้องรับผิดชอบต่อคำพูดที่ไม่รอบคอบของเราในภายหลัง

ดั่งคำคมที่กล่าวไว้อย่างกินใจ เช่น

การพูด การประกวดสุนทรพจน์ เจ้าภาพ นักร้อง, การแข่งขันร้องเพลง, ฉาก ..."คำมั่นสัญญา  อาจทำให้เราเป็นเพื่อนกัน  แต่ถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ใดมาควบคุมแล้วละก็  สักวันหนึ่่ง คำมั่นสัญญานั้น  อาจทำให้เรากลายเป็นศัตรูกันได้ เช่นกัน"
       **เบนจามิน  แฟรงคลิน**

"ทางที่ดีที่สุดที่จะรักษาคำพูดคือ  อย่าพูดให้สัญญากับใคร"

      เพราะคำพูดเมื่อหลุดออกจากปากไปแล้ว ไม่สามารถที่จะเรียกกลับคืนได้ เราต้องตระหนักในคำพูดทุกถ้อยคำของเราที่ตัดสินใจกล่าวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพูดที่เรากล่าวสัญญาว่าจะกระทำสิ่งใด เราจะต้องเป็นผู้มีสัจจะรักษาคำพูด และพยายามกระทำให้เกิดขึ้นตามสิ่งที่พูดไว้ให้ได้
นโปเลียน โบนาปาร์ต

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

ความแก่




พุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสลิลิตคำกลอน


ความแก่หง่อม     ย่อมทุลัก     ทุเลมาก
                        ดั่งคนบอด              ข้ามฟาก     ฝั่งคลอง หา
                        วิธีไต่                    ไผ่ลำ         คลานคลำมา
                        กิริยา                    แสนทุลัก     ทุเล แล

ถ้าไม่อยาก     ให้ทุลัก     ทุเลมาก
                        ต้องข้ามฟาก          ให้ถึงทั่ว     ก่อนตัวแก่
                        ก่อนตาบอด           หูหนวก      สะดวกแท้
                        ตรองให้แน่            แต่เนิ่นๆ     รีบเดินเอยฯ



วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2561

ครรลอง ของความควร


พุทธทาสลิขิตคำกลอน
พุทธทาสภิกขุ

มัวแต่กลัว   ก็ไม่มี   ที่ทำถูก
                                      แถมมีคน          จูงจมูก   ไถลถลำ
                                      ที่กล้าเดิน         ก็บิ่นบ้า   หาบาปกรรม
                                      รีบรู้ธรรม          ให้ถูกคลอง   ของความควรฯ

             ถ้าฐานะ   ตาอยู่กลาง   หว่างเขาควาย
                                      ยิ่งใกล้ตาย      ทุกประตู       รู้สอบสวน
                                      ไม่อ่อนแอ       ไม่ผลามผลี   มีขบวน
                                      ให้ถูกถ้วน        รอบคอบ      ระบอบงานฯ

     ที่ตัวเล็ก   เหมือนเด็ก   ถูกขี่ข่ม
                                     ต้องดูน้ำ   ดูลม   ไปทุกด้าน
                                     ที่ตัวใหญ่   โกยกำไร   ทุกฐานการณ์

                                     รีบคิดอ่าน   เสียใหม่   ให้ถูกควรฯ



คนโชคดี (ที่ได้ไหว้เขา)


พุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสลิขิตคำกลอน

ถ้าไหว้เขา     เราได้     การไหว้ตอบ
                              เป็นระบอบ             แต่โบราณ     ท่านขานไข
                              พุทธองค์               ทรงสอน       ให้สนใจ
                              หมั่นทำไป             สวัสดี           มีแก่ตนฯ

อีกทางหนึ่ง     ทำให้     ใกล้นิพพาน
                              เพราะตัดรอน     อหังการ        ไม่พองขน
                              เป็นประจำ         อยู่เสมอ        ไม่เผลอตน

                              นับเป็นคน         โชคดี            ที่สุดเอยฯ