วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.
กรมราชทัณฑ์ได้นำเสนอร่างระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ฉบับที่.....พ.ศ......ต่อมากระทรวงยุติธรรมได้ออกระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
พ.ศ. 2547 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน 2547 กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 25 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ
สังคม การศึกษา แรงงานสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่เห็นสมควร เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ เสนอแนะนโยบาย
แนวทางในการพัฒนาและสนับสนุนภารกิจของกรมราชทัณฑ์ และกระทรวงยุติธรรมได้มีคำสั่ง ที่
658/2547 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 แต่งตั้งกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
พ.ศ. 2547 โดยได้แต่งตั้ง นายกสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
รองนายกสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ และกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ รวมทั้งสิ้น
25 คน โดยให้คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
พ.ศ. 2547 (ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.correct.go.th/comnet1/council/)
การประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ปี 2548
- แนวคิด
แนวคิดของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ พ.ศ. 2547 เช่น
แนวคิดในการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานราชทัณฑ์
ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ
ความว่า “กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยคณะกรรมการ
จำนวน 25 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงาน
ในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา แรงงานสื่อมวลชนและอื่นๆ
ที่เห็นสมควร...”
1) แนวคิดในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
เป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนของการบังคับโทษจำคุก
ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ความว่า
“กำหนดให้มี
การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อทำหน้าที่ ให้คำแนะนำ เสนอแนะนโยบาย
แนวทางในการพัฒนาและสนับสนุนภารกิจของกรมราชทัณฑ์...”
2) แนวคิดในการบริหารงานเรือนจำให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
เป็นแนวคิดการแก่ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังผ่านการให้การศึกษาอบรมทักษะ
อาชีพ ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ความว่า
“กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก
หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ และแรงงาน...”
3) แนวคิดในการปกป้องคุ้มครองสังคม
เป็นการช่วยปกป้องคุ้มครองปกป้องสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม
ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ความว่า
“กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานด้านสังคม...”
4) แนวคิดในการให้ศึกษาแก่ผู้ต้องขัง
เป็นแนวคิดการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังผ่านการให้การศึกษาอบรมทักษะ
อาชีพ ทั้งทางด้านการศึกษาสายสามัญ สายอาชีพ และธรรมศึกษา ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม
ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ความว่า “กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก หน่วยงานด้านการศึกษาและแรงงาน...”
5) แนวคิดในการพัฒนาบุคลากร
เป็นแนวคิดที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ
ข้อ 12 (3) ความว่า สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ มีหน้าที่
“เสนอแนะการพัฒนางานด้านวิชาการและการพัฒนาบุคลากรของกรมราชทัณฑ์”
6) แนวคิดในการพัฒนาระเบียบ
หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติ เป็นแนวคิดที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม
ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ข้อ 12 (3) ความว่า สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
มีหน้าที่ “เสนอแนะมาตรการ และระเบียบที่เหมาะสม ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
การพัฒนาและแก้ไขพฤตินิสัยผู้ต้องขังและสนับสนุนผู้พ้นโทษเพื่อการดำรงชีวิตในสังคม”
เป็นต้น
กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ (บางส่วน)
- อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษา การราชทัณฑ์ พ.ศ. 2547 ข้อ
12 ดังนี้
- เสนอแนะนโยบายและแนวทางในการพัฒนางานราชทัณฑ์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามบริบทแห่งกฎหมายไทยและมาตรฐานสากล
- เสนอแนะมาตรการ และระเบียบที่เหมาะสม ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง การพัฒนาและแก้ไขพฤตินิสัยผู้ต้องขังและสนับสนุนผู้พ้นโทษเพื่อการดำรงชีวิตในสังคม
- เสนอแนะการพัฒนางานด้านวิชาการและการพัฒนาบุคลากรของกรมราชทัณฑ์
- ประสานงาน ระดมทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกมาใช้ในการควบคุมและพัฒนาผู้ต้องขัง
- ติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
- รับคำร้องเรียนของผู้ต้องขัง หรือประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ตามระเบียบที่สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์กำหนด
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์มอบหมาย
- ดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควรและชอบด้วยกฎหมายเพื่อสนับสนุนภารกิจของกรมราชทัณฑ์
บรรยากาศการประชุมกรรมการสภาการราชทัณฑ์ ปี 2548
- ผลการดาเนินงาน
ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ ได้จัดให้มีการประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
เพื่อรับฟังความคิดเห็น คำแนะนำ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและ แนวทางในการพัฒนาและสนับสนุนภารกิจของกรมราชทัณฑ์
ดังนี้
- การประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 1/2548 ในวันศุกร์ที่
28 มกราคม 2548 เวลา 10.00 น. ณ ห้องสัมมนากรมราชทัณฑ์ ชั้น 3 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน
- การประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 2/2548 ในวันอังคารที่
5 เมษายน 2548 เวลา 09.30 น. ณ ห้องสัมมนากรมราชทัณฑ์ ชั้น 3
- การประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 3/2548 ในวันจันทร์ที่
20 มิถุนายน 2548 เวลา 09.30 น. ณ ชวนชมอาเขต ทัณฑสถานหญิงกลาง
- ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางในการพัฒนางานราชทัณฑ์ ในเรื่องต่างๆ
ดังนี้
- ด้านการควบคุมผู้ต้องขัง
กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ได้ให้ข้อเสนอแนะในการควบคุมผู้ต้องขังในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านการควบคุม
ระบบเรือนจำความมั่นคงต่ำ ระบบการพักการลงโทษ ระบบการจำคุกในวันหยุดสำหรับผู้ต้องขังที่กระทำความผิดโดยประมาท
หรือ ลหุโทษ และการให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัย เป็นต้น
- ด้านการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง
กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ได้ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบการฝึกอบรม
ทักษะอาชีพ ทั้งสายสามัญ สายอาชีพ ธรรมศึกษา การเกษตรและอุตสาหกรรม ระบบบ้านกึ่งวิถี
รวมตลอดถึงการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกทักษะ อาชีพ แก่ผู้ต้องขัง
เป็นต้น
- ด้านสิทธิมนุษยชนในเรือนจำและทัณฑสถาน
กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ได้ให้ข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในเรือนจำและ ทัณฑสถาน ในเรื่องต่างๆ
เช่น การส่งเสริมบุคลากรของกรมราชทัณฑ์ให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
การปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
และการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมตลอดถึงการจัดตั้งคณะทำงาน (บุคคลภายนอกร่วมด้วย) เพื่อตรวจสอบและติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในเรือนจำและ ทัณฑสถาน
- การบริหารและพัฒนาบุคลากร
กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ได้ให้ข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมความก้าวหน้า ในวิชาชีพราชทัณฑ์ และมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและการสัมมนาให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เช่น หลักสูตรการป้องกันการก่อเหตุร้ายในเรือนจำ
การสร้างเครือข่ายด้านการข่าวกรองอาชญากรรม การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่
การส่งเสริมให้มีการศึกษาดูงาน การจัดรางวัล
“ผู้คุมยอดเยี่ยมประจำปี” สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรที่มีความรู้และทักษะในการเขียนบทความเพื่อที่จะได้ส่งไปลงหนังสือพิมพ์
วารสารทางวิชาการ รวมทั้งการเขียนบทความไปอ่านทางวิทยุกระจายเสียงเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
งานประจำและงานพิเศษของกรมฯ การส่งเสริมให้ข้าราชการศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ รวมตลอดถึงการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการวิจัยให้เจ้าหน้าที่สามารถเสนอและดำเนินการวิจัยโครงการต่างๆได้เอง
โดยการสนับสนุนของกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น
- การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจของกรมราชทัณฑ์
กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในภารกิจของกรมราชทัณฑ์
ในเรื่องต่างๆ เช่น ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจของกรมราชทัณฑ์ (การฝึกอบรม ทักษะ อาชีพ) การส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษา เข้ามาทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการราชทัณฑ์ให้กว้างขวางขึ้น
การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอาสาสมัครคุมประพฤติสาหรับผู้ต้องขังที่ได้รับการพักการลงโทษ
โดยการคุมประพฤติ (Parole) การทำข้อตกลง (MOU) กับผู้ประกอบการที่สมัครใจเกี่ยวกับการรับผู้ต้องขังที่พ้นโทษหรือที่ได้รับการพักการลงโทษโดยการคุม
ประพฤติ (Parole)
ที่ได้รับใบรับรองการพัฒนาฝีมือแรงงานจากกรมราชทัณฑ์ การเปิดเรือนจำสู่สังคมโดยการทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ
การทำข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมตลอดถึงประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการในการรับผู้พ้นโทษเข้าทำงานหรือรับงานไปทำที่บ้าน
เป็นต้น
- บริบทว่าด้วยกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ยังมีหน่วยงานที่มีแนวคิด
ภารกิจ หน้าที่ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับกับภารกิจของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ได้แก่
- คณะกรรมการเรือนจำ ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช
2479 มาตรา 44 และคณะกรรมการเรือนจำตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการตรวจเรือนจำของคณะกรรมการเรือนจำ
พ.ศ. 2547 มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจเรือนจำ
การจัดทำรายงานผลการตรวจ การให้คำแนะนำ ให้รัฐมนตรีทราบ และการเสนอความเห็นเกี่ยวกับกิจการเรือนจำ/ทัณฑสถาน หรือการแนะนำเจ้าพนักงานเรือนจำ/ทัณฑสถาน เพื่อประกอบ
การพิจารณาของรัฐมนตรี
- ผู้ตรวจราชการกรม ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกรม
พ.ศ. 2540 ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกรม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2546 ผู้ตรวจราชการกรมมีอำนาจหน้าที่การตรวจเรือนจำ การเผยแพร่นโยบาย
การรับฟังหรือสดับตรับฟังทุกข์สุข การแสวงหาหรือสอบข้อเท็จจริง สืบสวน สอบสวน การทำรายงานเสนอแนะต่ออธิบดี
เป็นต้น
- สมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน
(American Correctional Association) เป็นสมาคม ที่เก่าแก่ที่สุดที่พัฒนาเฉพาะสาหรับผู้ปฏิบัติงานในอาชีพราชทัณฑ์
ก่อตั้งขึ้นในปี 1870 มีการประชุมทุกปีในสหรัฐอเมริกา มีภารกิจในการพัฒนางานราชทัณฑ์
ทั้งในส่วนของระบบงานราชทัณฑ์ และพัฒนาเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ให้เป็นมืออาชีพ ดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในงานราชทัณฑ์
ดำเนินงานศึกษาวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานราชทัณฑ์ ส่งเสริมจริยธรรมในวิชาชีพราชทัณฑ์
เป็นต้น (ข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.aca.org/ACA_Prod_ IMIS/ACA_Member/Home/ACA_Member/Home.aspx)
การประชุมสมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน
โดยสรุป
สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
ถือกำเนิดเกิดขึ้นครั้งแรกใน ปี 2547 ภายหลังจากที่กระทรวงยุติธรรม ได้ออกระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
พ.ศ. 2547 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน 2547 กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์
มีการจัดประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ครั้งแรกเมื่อ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 ถึงปัจจุบันมีการประชุมรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยมีการประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานราชทัณฑ์ แนวคิดในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม แนวคิดในการบริหารงานเรือนจำให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แนวคิดในการปกป้องคุ้มครองสังคม แนวคิดในการให้ศึกษาแก่ผู้ต้องขัง แนวคิดในการพัฒนาบุคลากร และแนวคิดในการพัฒนาระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติ อันเป็นแนวคิดมาตรฐานสากลของระบบเรือนจำโดยทั่วไปในปัจจุบันลักษณะคล้ายคลึงกับกับภารกิจของสมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน จึงกล่าวได้ว่าแนวคิดของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ เป็นแนวคิดที่นำงานราชทัณฑ์สู่เส้นทางของความเป็นราชทัณฑ์มืออาชีพและนำไปสู่การการยอมรับของประชาชนในงานราชทัณฑ์อีกเส้นทางหนึ่ง แต่เนื่องจากการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ขาดความต่อเนื่อง โดยภายหลังจากที่ได้มีการประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ครั้งแรกและครั้งล่าสุดในปี 2548 ถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 10 ปี ที่ยังไม่มีการประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ จึงกล่าวได้ว่าปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์คือ ปัญหาการขาดความต่อเนื่องในนโยบายการดาเนินงานของกรมราชทัณฑ์ ทั้งที่ การจัดประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ในปี 2548 คณะกรรมการการจัดประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนางานราชทัณฑ์ เช่น ความเห็นและข้อเสนอแนะด้านการควบคุมผู้ต้องขังที่ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านการควบคุม ด้านการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ด้านสิทธิมนุษยชน ในเรือนจำและทัณฑสถาน และด้านการบริหารและพัฒนาบุคลากรที่ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการวิจัยให้เจ้าหน้าที่สามารถเสนอและดำเนินการวิจัยโครงการต่างๆได้เองโดยการสนับสนุนของกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานราชทัณฑ์ ให้เป็นมาตรฐานสากล จึงเห็นว่าถ้ากรมราชทัณฑ์ได้นำนโยบายเกี่ยวกับสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์มาดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่องก็จะทำให้สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินงานราชทัณฑ์ การพัฒนางานราชทัณฑ์ให้ไปสู่เส้นทางของราชทัณฑ์มืออาชีพ ช่วยพัฒนางานราชทัณฑ์ให้มีมาตรฐานสากล ช่วยปกป้องสังคมและ นำงานราชทัณฑ์ไปสู่เป้าหมายคือการยอมรับของประชาชนในการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์และกระบวนการยุติธรรมของไทยโดยภาพรวม
............................................