วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นม.
จากกรณีนักโทษขังเดี่ยวของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยสหภาพ พลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพ และพวก (กลุ่มสิทธิมนุษยชน สำนักงานกฎหมายเรือนจา บริษัท กฎหมาย เพอร์กินส์ คอยส์ และโจนส์วัน) ในฐานะผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ร่วมฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา ต่อศาลของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา เมื่อ 22 มีนาคม 2555 หมายเลขคดี 2 / 12-CV-00601-NVW ข้อหา “จงใจ ละเลย ไม่ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษ โดยเฉพาะนักโทษขังเดี่ยว ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และละเมิดสิทธิมนุษยชน.....” ต่อมา “เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 ศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยว่า สหภาพพลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพและพวก สามารถฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา ให้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา จงใจ ละเลย หรือไม่สามารถให้การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษ โดยเฉพาะการ ขังเดี่ยว ทำให้นักโทษได้รับความเจ็บปวด ทรมาน และเสียชีวิตในขณะที่รอการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน.....” ซึ่งจากผลของคำพิพากษา ดังกล่าว จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการคุมขังโดยเฉพาะการขังเดี่ยวในเรือนจำของรัฐและเรือนจำเอกชนของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา และกรมราชทัณฑ์ในมลรัฐอื่นๆของสหรัฐอเมริกา ระบบคุมขังของประเทศต่างๆ รวมตลอดถึงประเทศไทยที่อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลสุขภาพนักโทษที่จะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน ให้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการปฏิบัติต่อนักโทษในการคุมขังแบบขังเดี่ยว และ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ จักได้กล่าวถึงคำพิพากษาคดีดังกล่าวโดยย่อ ในหัวข้อ คำฟ้อง คำให้การ และแนวคำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าว ทฤษฎีขังเดี่ยว และการขังเดี่ยว ในประเทศไทยโดยสังเขป ดังนี้

ขังเดี่ยว
คำฟ้องคดีกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา ละเลยหรือไม่สามารถให้การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษที่ถูกคุมขังโดยเฉพาะการขังเดี่ยว ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.prisonlaw.com/events.php พบว่า คำฟ้อง คำให้การ คำพิพากษาของศาลของคดีดังกล่าว มีดังนี้
- วันฟ้อง วันที่ 22 มีนาคม 2555
- ข้อหา “.....จำเลยหรือกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาได้จงใจ ละเลย หรือไม่สามารถให้การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษที่ถูกคุมขังตามกฎหมาย และ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการขังเดี่ยว ทำให้นักโทษมีความเสี่ยงที่สาคัญต่ออันตรายร้ายแรง ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน และอาจเสียชีวิตจากการคุมขัง ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน.....”
ขังเดี่ยว
- หมายเลขคดี 2 : 12-CV-00601-NVW
- โจทก์ สหภาพพลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพ และพวก (กลุ่มสิทธิมนุษยชน สานักงานกฎหมายเรือนจำ บริษัท กฎหมายเพอร์กิ้นส์ คอยส์ และโจนส์วัน) ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนักโทษ ในเรือนจำมลรัฐแอริโซนา
- จำเลย กรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา
“.....จำเลยจงใจ ละเลย ไม่ดูแลสุขภาพ ดูแลสุขภาพนักโทษล่าช้า ไม่ทั่วถึง พนักงานดูแลสุขภาพไม่เพียงพอ ปฏิเสธการดูแลรักษาสุขภาพ ดูแลสุขภาพนักโทษต่ำกว่ามาตรฐาน ตามกฎหมาย ปฏิบัติต่อนักโทษด้วยความโหดร้ายผิดปกติ ล้มเหลว หรือไม่สนใจดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ของนักโทษ ทำให้นักโทษมีความเสี่ยงและอันตรายร้ายแรงของสุขภาพ ได้รับความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน อาจต้องเสียเสียโฉม เสียอวัยวะ แขน ขา และอาจเสียชีวิตในขณะที่รอการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน เป็นการกระทำผิดกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย และบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและพวก.....”
“.....ปัญหาการดูแลรักษาสุขภาพของนักโทษที่ถูกคุมขังแบบขังเดี่ยว โดยเฉพาะการขังเดี่ยวในซุปเปอร์แม็กซ์ ซึ่งมีสภาพที่โหดร้ายและผิดปกติของการคุมขัง มีการเปิดไฟในห้องขังตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ปฏิเสธการดูแลด้านสุขภาพ ขาดการสันทนาการ มีอาหารไม่เพียงพอ ขาดการออกกาลังกายกลางแจ้ง ไม่คำนึงถึงการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ทำให้นักโทษต้องทนความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน และเสียชีวิต ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและพวก.....”
- คำขอท้ายฟ้อง
- ให้ศาลมีคำพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยจงใจไม่ดูแลสุขภาพ ดูแลสุขภาพนักโทษไม่ทั่วถึง ดูแลสุขภาพนักโทษต่ำกว่ามาตรฐานตามกฎหมาย ปฏิบัติต่อนักโทษด้วยความโหดร้ายผิดปกติ ล้มเหลว หรือไม่สนใจดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษในเรือนจำ ทำให้นักโทษมีความเสี่ยงที่สำคัญต่ออันตรายร้ายแรง ได้รับความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน อาจต้องเสียเสียโฉม เสียอวัยวะ แขน ขา และอาจเสียชีวิตในขณะที่รอการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นความผิดตามกฎหมาย และตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา
- ให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการไม่ดูแลรักษาสุขภาพ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การกระทำผิดกฎหมาย และไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา แก่โจทก์และพวก ตามประมวลกฎวิธีพิจารณาความแพ่งของรัฐบาลกลางข้อ 23 (ก) และ 23 (ข) (1) และ (2)
- ให้ศาลมีคำพิพากษาและคำสั่งกำชับจำเลยและพวก ทำการดูแลรักษานักโทษ การประกันคุณภาพการรักษานักโทษให้ถูกต้องตามกฎหมายและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา รวมตลอดถึงข้อห้ามของการคุมขัง โดยเฉพาะการขังเดี่ยวที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ให้จัดหาอาหารที่จำเป็นและมีคุณค่าทางโภชนาการ จัดให้มีการออกกาลังกายกลางแจ้งเป็นประจำเพื่อรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของนักโทษ เป็นต้น
ขังเดี่ยว
กรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา จำเลย ให้การปฎิเสธ โดยอ้างเหตุผลว่า “.....กรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา มีหน้าที่ตามกฎหมายในการให้บริการทางการแพทย์และดูแลสุขภาพนักโทษทั้งหมด ประมาณ 33,000 คน ซึ่งในการดำเนินงาน ดังกล่าว อธิบดีกรมราชทัณฑ์มลรัฐแอริโซนา ได้ประกาศนโยบายการดูแลสุขภาพนักโทษที่อยู่ในความดูแลของตนทั้งหมด (รวมทั้งนักโทษขังเดี่ยว) และนักโทษที่เป็นโจทก์ฟ้อง กรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา โดยได้ดูแลสุขภาพนักโทษที่อยู่ในความควบคุมดังกล่าวเหมือนกันทั้งหมด นอกจากนั้น กรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา ยังได้ทำสัญญากับหน่วยงานภาคเอกชนเพื่อให้บริการทางการแพทย์ทันตกรรมและการดูแลสุขภาพจิตนักโทษ ตั้งแต่ 2 กรกฎาคม 2012 และกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาได้มีเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบการดำเนินงานของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง จึงปฎิเสธความรับผิดชอบตามข้อกล่าวหาทั้งหมด.....”
ศาลอุทธรณ์รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 “.....ศาลปฏิเสธ ไม่รับฟังข้อโต้แย้งตามคำให้การของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา และอนุญาตให้สหภาพพลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพ และพวก (กลุ่มสิทธิมนุษยชน สำนักงานกฎหมายเรือนจำ บริษัท กฎหมายเพอร์กิ้นส์ คอยส์ และโจนส์วัน) ในฐานะผู้รับมอบอานาจจากนักโทษในเรือนจำมลรัฐแอริโซนา เป็นตัวแทนของนักโทษเรือนจำแอริโซนา สามารถฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนากรณีจงใจ ละเลย ไม่ดูแลสุขภาพ ดูแลสุขภาพนักโทษล่าช้า ไม่ทั่วถึง พนักงานดูแลสุขภาพไม่เพียงพอ ปฏิเสธการดูแลรักษาสุขภาพ ดูแลสุขภาพนักโทษต่ากว่ามาตรฐานตามกฎหมาย ปฏิบัติต่อนักโทษด้วยความโหดร้ายผิดปกติ ล้มเหลว หรือไม่สนใจดูแลสุขภาพ ขั้นพื้นฐานของนักโทษ ทำให้นักโทษมีความเสี่ยงและเป็นอันตรายร้ายแรงของสุขภาพ ได้รับความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน อาจต้องเสียโฉม เสียอวัยวะ แขน ขา และอาจเสียชีวิตในขณะที่รอการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะนักโทษขังเดี่ยว ที่มีความเสี่ยงที่สำคัญของอันตรายร้ายแรงต่อรางกายและจิตใจ ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเป็นผลที่เกิดจากการดำเนินงานตามนโยบายของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาได้.....”

กระแสเรียกร้องให้หยุดการขังเดี่ยวในต่างประเทศ
- ทฤษฎีขังเดี่ยว ทฤษฎีขังเดี่ยวเกิดจากแนวความคิดความเชื่อที่ว่า “การขังเดี่ยวโดยการคุมขังผู้ต้องขังไว้ในห้องคุมขังของเรือนจำที่มีลักษณะเป็นโลกปิด ตัดขาดจากการติดต่อกับโลกภายนอก จะช่วยป้องกันการหลบหนี ช่วยลดการกระทาผิดต่างๆในเรือนจา ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยบั่นทอนศักยภาพ และความสามารถในการกระทาผิดของผู้ต้องขังได้”
ในปัจจุบันการขังเดี่ยวนิยมใช้ในเรือนจำซุปเปอรแม็กซ์ ซึ่งในทางปฏิบัติโดยทั่วไปผู้ต้องขังจะถูกคุมขังอยู่ในห้องวันละ 23 ชั่วโมง (ที่เหลืออีก 1 ชั่วโมงเป็นเวลาสำหรับการออกกาลังกายหรือเดินเล่นคนเดียวและทำกิจกรรมอื่นๆตามที่กำหนด) เป็นเรือนจำที่ออกแบบมาเพื่อแยกผู้ต้องขังจากสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้า ทางสังคมในเรือนจำโดยใช้มาตรการควบคุมและป้องกันการหลบหนีแบบพิเศษ (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www. spunk.org /texts /prison/sp001611.txt อลิซ แวล รายงานวิจัย เรื่อง เรือนจาซุปเปอร์แม็กซ์ มีนาคม 1996)
การขังเดี่ยวในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 2 เรื่อง ใหญ่ๆ คือ
- ในทางกฎหมาย การขังเดี่ยวของเรือนจำไทยปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 ตอนที่ 46 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479
มาตรา 35 บัญญัติว่า เมื่อผู้ต้องขังคนใดกระทำผิดวินัย ให้เจ้าพนักงานเรือนจำผู้มีหน้าที่พิจารณาโดยถ่องแท้ แล้วลงโทษสถานหนึ่งสถานใด หรือหลายสถานดั่งต่อไปนี้
(6) ขังเดี่ยวไม่เกินสามเดือน
(7) ขังห้องมืดไม่มีเครื่องหลับนอนไม่เกินสองวันในสัปดาห์หนึ่งโดยความเห็นชอบของแพทย์ และ กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 45 ตอนที่ 6 วันที่ 26 เมษายน 2480
ข้อ 111 ขังเดี่ยวนั้น พึงกระทำในกรณีต่อไปนี้
(1) กระด้างกระเดื่องต่อเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชาเรือนจำตั้งแต่ชั้นพัศดีขึ้นไป
(2) วิวาทกับผู้ต้องขังอื่นตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
(3) เป็นเจ้ามือเล่น การพนัน หรือสมคบกับผู้ต้องขังอื่นเล่นการพนันตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
(4) ดื่มสุรา สูบกันชา ฝิ่น หรือเสพของเมาอย่างอื่นแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
(5) มีของต้องห้ามในจำพวกที่เป็นเครื่องมืออันเป็นอุปกรณ์ในการหลบหนี
ข้อ 112 ขังห้องมืดนั้น พึงกระทำในกรณีต่อไปนี้
(1) ก่อการวิวาทกับผู้ต้องขังอื่นเนือง ๆ
(2) พยายามหรือทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน
(3) ก่อการวุ่นวาย แต่ไม่ร้ายแรง
(4) จงใจหลีกเลี่ยงการงาน
(5) จงใจขัดคำสั่งผู้บัญชา
(6) ค้าสิ่งของต้องห้าม
ข้อ 118 การขังเดี่ยวนั้น ให้กระทำโดยวิธีแยกผู้ต้องรับโทษจากผู้ต้องขังอื่นและคุมขังไว้ ในที่ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษ ห้ามการติดต่อหรือพูดจากับผู้อื่นทั้งสิ้น ให้พัศดีจัดให้มีผู้คอยตรวจรักษาการขังเดี่ยว ให้เป็นไปตามวรรคก่อน และสังเกตเมื่อมีอาการป่วยเจ็บซึ่งต้องมีการรักษาพยาบาลเกิดขึ้น
ข้อ 119 ห้องมืดซึ่งจะใช้เป็นที่ขังลงโทษนั้นต้องให้แพทย์ได้ตรวจเห็นชอบด้วยว่าไม่ผิด อนามัยอย่างร้ายแรง
จากพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มาตรา 35 และ กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ข้อ 111 ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการขังเดี่ยว สามารถดาเนินการได้เฉพาะกรณีเมื่อผู้ต้องขังกระทาำผิดวินัย และเจ้าพนักงานเรือนจำ ผู้มีหน้าที่พิจารณาลงโทษและมีคำสั่งลงโทษทางวินัย โดยการขังเดี่ยวได้ไม่เกินสามเดือนเท่านั้น จะขังเดี่ยวโดยสาเหตุอื่นๆ ไม่ได้โดยเด็ดขาดเพราะไม่มีกฎหมายรองรับหรือให้อานาจไว้
ขังเดี่ยว
ในปัจจุบันเรือนจำต่างๆ ในประเทศไทย ยังมีการลงโทษทางวินัยโดยการขังเดี่ยวตามกฎหมายราชทัณฑ์ดังกล่าวอยู่ ปรากฏหลักฐานตามหนังสือกรมราชทัณฑ์ ที่ ยธ 0705.1/19533 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจการนำผู้ต้องขังไปคุมขังในอาคารห้องขังเดี่ยว และการให้ความร่วมมือผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557 ความว่า “.....การใช้อาคารห้องขังเดี่ยว 10 ห้อง ตามที่กรมฯ ได้ออกแบบแปลนอาคารก่อสร้างให้เป็นการใช้เพื่อการลงโทษขังเดี่ยวเพียงประการเดียว เนื่องจากสภาพอาคารสมควรที่จะใช้เพื่อการลงโทษ การนำผู้ต้องขังอื่นที่มิได้ถูกลงโทษขังเดี่ยว เช่น ผู้กระทำความผิดวินัยและยังอยู่ระหว่าง การสอบสวน ผู้ต้องแยกขังเพื่อการคุ้มครองชีวิต เป็นต้น อาจไม่เป็นธรรมกับผู้ถูกคุมขังยังอาคาร ดังกล่าว และจะเกิดการร้องเรียนขึ้นได้ ซึ่งจะยากต่อการชี้แจงและทำความเข้าใจกับหน่วยงานภายนอก รวมทั้งอาจสร้างทัศนคติในทางลบให้กับผู้ต้องขังที่ถูกนาไปคุมขังโดยไม่มีความผิดด้วย.....”
อาคารคุมขังขนาด 4 ชั้น ของแดนซุปเปอร์แม็กซ์ เรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี
โดยสรุป
แนวคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา โดยสหภาพพลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพ และพวก (กลุ่มสิทธิมนุษยชน สำนักงานกฎหมายเรือนจำ บริษัท กฎหมายเพอร์กิ้นส์ คอยส์ และโจนส์วัน) ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนักโทษในเรือนจำมลรัฐแอริโซนาเป็นโจทก์ ฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา จำเลย ข้อหา “.....จงใจ ละเลย ไม่ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษโดยเฉพาะนักโทษขังเดี่ยว ที่มีความเสี่ยงที่สำคัญของอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และละเมิดสิทธิมนุษยชน.....” โดย “ศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ได้พิพากษาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 ว่า “.....คำให้การแก้ข้อกล่าวหาของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาที่ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาของโจทก์ (รายละเอียดปรากฏตามคำให้การ ดังกล่าวข้างต้น) ฟังไม่ขึ้น และอนุญาตให้สหภาพพลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพ และพวก (กลุ่มสิทธิมนุษยชน สำนักงานกฎหมายเรือนจำ บริษัท กฎหมาย เพอร์กิ้นส์ คอยส์ และโจนส์วัน) ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนักโทษในเรือนจำมลรัฐแอริโซนา เป็นตัวแทนของนักโทษเรือนจำแอริโซนา สามารถฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนากรณีจงใจ ละเลย ไม่ดูแลสุขภาพ ดูแลสุขภาพนักโทษไม่ทั่งถึง ทำให้นักโทษมีความเสี่ยงและอันตรายร้ายแรงของสุขภาพ ในขณะที่รอการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะนักโทษขังเดี่ยว ที่มีความเสี่ยงที่สาคัญของอันตรายร้ายแรง ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่เกิดจากการดำเนินงาน ตามนโยบายของ กรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาได้.....” นั้น ซึ่งจากผลของคำพิพากษา ดังกล่าวทำให้นักโทษ ประมาณ 33,000 คน ของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา มีสิทธิ์ฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา ให้รับผิดชอบในความเสียหายได้ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาคงไม่เห็นพ้องด้วยและอาจยื่นต่อสู้ในชั้นฎีกา ซึ่งต้องติดตามคำพิพากษาของศาลฎีกาของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาต่อไป สาหรับกรณีของเรือนจำในประเทศไทยที่ในปัจจุบันยังมีการลงโทษทางวินัยโดยการขังเดี่ยวตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ในเรือนจำและทัณฑสถานโดยทั่วไป นั้น เห็นว่าถ้าศาลฎีกาของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ก็อาจส่งผลกระทบถึงแนวทางการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนและแนวทางการลงโทษทางวินัยโดยการขังเดี่ยวของเรือนจำในประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกของสหประชาชาติเช่นเดียวกันกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังและ ลดระดับความเข้มข้นในการปฏิบัติต่อนักโทษขังเดี่ยวที่จะต้องคำนึงถึงการดูแลรักษาสุขภาพนักโทษ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชนให้มากยิ่งขึ้น
.............................................