วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นม.
จากกรณีนักโทษขังเดี่ยวของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยสหภาพ พลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพ และพวก (กลุ่มสิทธิมนุษยชน สำนักงานกฎหมายเรือนจา บริษัท กฎหมาย เพอร์กินส์ คอยส์ และโจนส์วัน) ในฐานะผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ร่วมฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา ต่อศาลของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา เมื่อ 22 มีนาคม 2555 หมายเลขคดี 2 / 12-CV-00601-NVW ข้อหา “จงใจ ละเลย ไม่ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษ โดยเฉพาะนักโทษขังเดี่ยว ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และละเมิดสิทธิมนุษยชน.....” ต่อมา “เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 ศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยว่า สหภาพพลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพและพวก สามารถฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา ให้รับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดกฎหมาย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา จงใจ ละเลย หรือไม่สามารถให้การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษ โดยเฉพาะการ ขังเดี่ยว ทำให้นักโทษได้รับความเจ็บปวด ทรมาน และเสียชีวิตในขณะที่รอการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน.....” ซึ่งจากผลของคำพิพากษา ดังกล่าว จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการคุมขังโดยเฉพาะการขังเดี่ยวในเรือนจำของรัฐและเรือนจำเอกชนของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา และกรมราชทัณฑ์ในมลรัฐอื่นๆของสหรัฐอเมริกา ระบบคุมขังของประเทศต่างๆ รวมตลอดถึงประเทศไทยที่อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลสุขภาพนักโทษที่จะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน ให้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการปฏิบัติต่อนักโทษในการคุมขังแบบขังเดี่ยว และ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ จักได้กล่าวถึงคำพิพากษาคดีดังกล่าวโดยย่อ ในหัวข้อ คำฟ้อง คำให้การ และแนวคำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าว ทฤษฎีขังเดี่ยว และการขังเดี่ยว ในประเทศไทยโดยสังเขป ดังนี้
ขังเดี่ยว
คำฟ้องคดีกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา ละเลยหรือไม่สามารถให้การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษที่ถูกคุมขังโดยเฉพาะการขังเดี่ยว ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.prisonlaw.com/events.php พบว่า คำฟ้อง คำให้การ คำพิพากษาของศาลของคดีดังกล่าว มีดังนี้
- คำฟ้อง
- วันฟ้อง วันที่ 22 มีนาคม 2555
- ข้อหา “.....จำเลยหรือกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาได้จงใจ ละเลย หรือไม่สามารถให้การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษที่ถูกคุมขังตามกฎหมาย และ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการขังเดี่ยว ทำให้นักโทษมีความเสี่ยงที่สาคัญต่ออันตรายร้ายแรง ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน และอาจเสียชีวิตจากการคุมขัง ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน.....”
ขังเดี่ยว
- หมายเลขคดี 2 : 12-CV-00601-NVW
- โจทก์ สหภาพพลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพ และพวก (กลุ่มสิทธิมนุษยชน สานักงานกฎหมายเรือนจำ บริษัท กฎหมายเพอร์กิ้นส์ คอยส์ และโจนส์วัน) ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนักโทษ ในเรือนจำมลรัฐแอริโซนา
- จำเลย กรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา
- ประเด็นตามฟ้อง (โดยย่อ)
“.....ปัญหาการดูแลรักษาสุขภาพของนักโทษที่ถูกคุมขังแบบขังเดี่ยว โดยเฉพาะการขังเดี่ยวในซุปเปอร์แม็กซ์ ซึ่งมีสภาพที่โหดร้ายและผิดปกติของการคุมขัง มีการเปิดไฟในห้องขังตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ปฏิเสธการดูแลด้านสุขภาพ ขาดการสันทนาการ มีอาหารไม่เพียงพอ ขาดการออกกาลังกายกลางแจ้ง ไม่คำนึงถึงการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ทำให้นักโทษต้องทนความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน และเสียชีวิต ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและพวก.....”
- คำขอท้ายฟ้อง
- ให้ศาลมีคำพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยจงใจไม่ดูแลสุขภาพ ดูแลสุขภาพนักโทษไม่ทั่วถึง ดูแลสุขภาพนักโทษต่ำกว่ามาตรฐานตามกฎหมาย ปฏิบัติต่อนักโทษด้วยความโหดร้ายผิดปกติ ล้มเหลว หรือไม่สนใจดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษในเรือนจำ ทำให้นักโทษมีความเสี่ยงที่สำคัญต่ออันตรายร้ายแรง ได้รับความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน อาจต้องเสียเสียโฉม เสียอวัยวะ แขน ขา และอาจเสียชีวิตในขณะที่รอการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นความผิดตามกฎหมาย และตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา
- ให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการไม่ดูแลรักษาสุขภาพ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การกระทำผิดกฎหมาย และไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา แก่โจทก์และพวก ตามประมวลกฎวิธีพิจารณาความแพ่งของรัฐบาลกลางข้อ 23 (ก) และ 23 (ข) (1) และ (2)
- ให้ศาลมีคำพิพากษาและคำสั่งกำชับจำเลยและพวก ทำการดูแลรักษานักโทษ การประกันคุณภาพการรักษานักโทษให้ถูกต้องตามกฎหมายและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา รวมตลอดถึงข้อห้ามของการคุมขัง โดยเฉพาะการขังเดี่ยวที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง ให้จัดหาอาหารที่จำเป็นและมีคุณค่าทางโภชนาการ จัดให้มีการออกกาลังกายกลางแจ้งเป็นประจำเพื่อรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของนักโทษ เป็นต้น
ขังเดี่ยว
- คำให้การ
- คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
กระแสเรียกร้องให้หยุดการขังเดี่ยวในต่างประเทศ
- ทฤษฎีขังเดี่ยว ทฤษฎีขังเดี่ยวเกิดจากแนวความคิดความเชื่อที่ว่า “การขังเดี่ยวโดยการคุมขังผู้ต้องขังไว้ในห้องคุมขังของเรือนจำที่มีลักษณะเป็นโลกปิด ตัดขาดจากการติดต่อกับโลกภายนอก จะช่วยป้องกันการหลบหนี ช่วยลดการกระทาผิดต่างๆในเรือนจา ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยบั่นทอนศักยภาพ และความสามารถในการกระทาผิดของผู้ต้องขังได้”
- การขังเดี่ยวในประเทศไทย
- ในทางกฎหมาย การขังเดี่ยวของเรือนจำไทยปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 ตอนที่ 46 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479
(6) ขังเดี่ยวไม่เกินสามเดือน
(7) ขังห้องมืดไม่มีเครื่องหลับนอนไม่เกินสองวันในสัปดาห์หนึ่งโดยความเห็นชอบของแพทย์ และ กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความใน มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 45 ตอนที่ 6 วันที่ 26 เมษายน 2480
ข้อ 111 ขังเดี่ยวนั้น พึงกระทำในกรณีต่อไปนี้
(1) กระด้างกระเดื่องต่อเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชาเรือนจำตั้งแต่ชั้นพัศดีขึ้นไป
(2) วิวาทกับผู้ต้องขังอื่นตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
(3) เป็นเจ้ามือเล่น การพนัน หรือสมคบกับผู้ต้องขังอื่นเล่นการพนันตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
(4) ดื่มสุรา สูบกันชา ฝิ่น หรือเสพของเมาอย่างอื่นแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
(5) มีของต้องห้ามในจำพวกที่เป็นเครื่องมืออันเป็นอุปกรณ์ในการหลบหนี
ข้อ 112 ขังห้องมืดนั้น พึงกระทำในกรณีต่อไปนี้
(1) ก่อการวิวาทกับผู้ต้องขังอื่นเนือง ๆ
(2) พยายามหรือทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน
(3) ก่อการวุ่นวาย แต่ไม่ร้ายแรง
(4) จงใจหลีกเลี่ยงการงาน
(5) จงใจขัดคำสั่งผู้บัญชา
(6) ค้าสิ่งของต้องห้าม
ข้อ 118 การขังเดี่ยวนั้น ให้กระทำโดยวิธีแยกผู้ต้องรับโทษจากผู้ต้องขังอื่นและคุมขังไว้ ในที่ซึ่งจัดขึ้นเป็นพิเศษ ห้ามการติดต่อหรือพูดจากับผู้อื่นทั้งสิ้น ให้พัศดีจัดให้มีผู้คอยตรวจรักษาการขังเดี่ยว ให้เป็นไปตามวรรคก่อน และสังเกตเมื่อมีอาการป่วยเจ็บซึ่งต้องมีการรักษาพยาบาลเกิดขึ้น
ข้อ 119 ห้องมืดซึ่งจะใช้เป็นที่ขังลงโทษนั้นต้องให้แพทย์ได้ตรวจเห็นชอบด้วยว่าไม่ผิด อนามัยอย่างร้ายแรง
จากพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มาตรา 35 และ กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ข้อ 111 ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการขังเดี่ยว สามารถดาเนินการได้เฉพาะกรณีเมื่อผู้ต้องขังกระทาำผิดวินัย และเจ้าพนักงานเรือนจำ ผู้มีหน้าที่พิจารณาลงโทษและมีคำสั่งลงโทษทางวินัย โดยการขังเดี่ยวได้ไม่เกินสามเดือนเท่านั้น จะขังเดี่ยวโดยสาเหตุอื่นๆ ไม่ได้โดยเด็ดขาดเพราะไม่มีกฎหมายรองรับหรือให้อานาจไว้
ขังเดี่ยว
- ในทางปฏิบัติ
อาคารคุมขังขนาด 4 ชั้น ของแดนซุปเปอร์แม็กซ์ เรือนจำกลางเขาบิน จังหวัดราชบุรี
โดยสรุป
แนวคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา โดยสหภาพพลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพ และพวก (กลุ่มสิทธิมนุษยชน สำนักงานกฎหมายเรือนจำ บริษัท กฎหมายเพอร์กิ้นส์ คอยส์ และโจนส์วัน) ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนักโทษในเรือนจำมลรัฐแอริโซนาเป็นโจทก์ ฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา จำเลย ข้อหา “.....จงใจ ละเลย ไม่ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของนักโทษโดยเฉพาะนักโทษขังเดี่ยว ที่มีความเสี่ยงที่สำคัญของอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจ ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และละเมิดสิทธิมนุษยชน.....” โดย “ศาลอุทธรณ์ของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ได้พิพากษาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2557 ว่า “.....คำให้การแก้ข้อกล่าวหาของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาที่ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาของโจทก์ (รายละเอียดปรากฏตามคำให้การ ดังกล่าวข้างต้น) ฟังไม่ขึ้น และอนุญาตให้สหภาพพลเรือนอเมริกันเพื่อเสรีภาพ และพวก (กลุ่มสิทธิมนุษยชน สำนักงานกฎหมายเรือนจำ บริษัท กฎหมาย เพอร์กิ้นส์ คอยส์ และโจนส์วัน) ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนักโทษในเรือนจำมลรัฐแอริโซนา เป็นตัวแทนของนักโทษเรือนจำแอริโซนา สามารถฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนากรณีจงใจ ละเลย ไม่ดูแลสุขภาพ ดูแลสุขภาพนักโทษไม่ทั่งถึง ทำให้นักโทษมีความเสี่ยงและอันตรายร้ายแรงของสุขภาพ ในขณะที่รอการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะนักโทษขังเดี่ยว ที่มีความเสี่ยงที่สาคัญของอันตรายร้ายแรง ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่เกิดจากการดำเนินงาน ตามนโยบายของ กรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาได้.....” นั้น ซึ่งจากผลของคำพิพากษา ดังกล่าวทำให้นักโทษ ประมาณ 33,000 คน ของกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา มีสิทธิ์ฟ้องกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนา ให้รับผิดชอบในความเสียหายได้ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติกรมราชทัณฑ์ มลรัฐแอริโซนาคงไม่เห็นพ้องด้วยและอาจยื่นต่อสู้ในชั้นฎีกา ซึ่งต้องติดตามคำพิพากษาของศาลฎีกาของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาต่อไป สาหรับกรณีของเรือนจำในประเทศไทยที่ในปัจจุบันยังมีการลงโทษทางวินัยโดยการขังเดี่ยวตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ในเรือนจำและทัณฑสถานโดยทั่วไป นั้น เห็นว่าถ้าศาลฎีกาของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ก็อาจส่งผลกระทบถึงแนวทางการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนและแนวทางการลงโทษทางวินัยโดยการขังเดี่ยวของเรือนจำในประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกของสหประชาชาติเช่นเดียวกันกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังและ ลดระดับความเข้มข้นในการปฏิบัติต่อนักโทษขังเดี่ยวที่จะต้องคำนึงถึงการดูแลรักษาสุขภาพนักโทษ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชนให้มากยิ่งขึ้น
.............................................