วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รางจืด ขับพิษยาฆ่าแมลง

            เกษตรกรในประเทศไทย 14.5 ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จากการสุ่มตรวจตัวอย่างผัก ผลไม้ ของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปี 2552 พบมีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างร้อยละ 28 จึงต้องเร่งดูแลสุขภาพกลุ่มเกษตรกร

            รางจืด เป็นสมุนไพร ที่นำมาใช้ดูแลรักษาเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส ซึ่งมีพิษเฉียบพลันและเรื้อรังและมีผลต่อระบบประสาท ทำให้คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย มึนงง ชัก หมดสติ อาจเสียชีวิต  เกษตรกรที่ตรวจพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรใช้ชาชงรางจืด ชงดื่มวันละ 6 กรัม 4 - 5 แก้วต่อวัน เพื่อขับสารพิษออกจากร่างกาย จากผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส ได้ผลดี และพิษจากสารพิษของแมงดาทะเล ซึ่งพบว่าสามารถถอนพิษผู้ป่วยระยะวิกฤติ ระดับ 4 ได้ หลังได้รับสารสกัดสมุนไพรรางจืด 40 นาที

            ตำรายาไทย ให้นำใบสดรางจืดที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป 10 - 12 ใบ โขลกให้แหลกผสมน้ำเปล่า หรือน้ำซาวข้าว คั้นน้ำดื่ม หรือทำเป็นชาใบรางจืด โดยนำมาหั่นฝอยตากแดดให้แห้ง ชงน้ำร้อนดื่มแทนน้ำ วันละ 4 -5 แก้ว สามารถแก้ไข้ ถอนพิษยาฆ่าแมลงและช่วยขับหรือล้างสารพิษในตับ

พุทธดำรัส

อันใดเดือดร้อนเขา      สบายเรา          อย่าทำ
อันใดเดือดร้อนเรา       สบายเขา         อย่าทำ
อันใดเดือดร้อนเขา      เดือดร้อนเรา    ก็อย่าทำ
อันใดไม่เดือดร้อนเขา  ไม่เดือดร้อนเรา  จงคิด  จงพูด และกระทำเถิด

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การสังเกตลักษณะคนร้าย ทำอย่างไร

           1. จดจำลักษณะใหญ่ เห็นง่าย
           2. จดจำลักษณะเด่น  ตำหนิ
           3. เลือกจดจำลักษณะเพียงบางอย่างที่สามารถจำได้อย่างแม่นยำ
           4. เมื่อคนร้ายหลบหนีไป รีบจดบันทึกทันทีตามที่เห็นจริง
           5. มอบรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง

การสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล
           1. ลักษณะทางกายภาพ
                      - เพศ  (ชาย หญิง กระเทย)
                      - วัย    (เด็ก ผู้ใหญ่ วัยรุ่น หรือประมาณอายุว่าเท่าไหร่)
                      - รูปร่าง  (อ้วน ผอม สูง เตี้ย สันทัด ร่างกายกำยำ หรือผอมแห้ง)
                      - สีผิว  (ขาว เหลือง คล้ำ ซีด เหี่ยวย่น ฯ)
                      - เชื้อชาติ  (ดูจากใบหน้า ไทย จีน แขก ฝรั่ง ลูกครึ่ง ฯ)
                      - รูปหน้า  (รูปไข่ กลม สี่เหลี่ยม ฯ)
                      - ผม  (ดำ สั้น หยิก ยาว สีผมสีอะไร ลักษณะผมทรงอะไร)
                      - ปาก  (หนา บาง กว้าง แคบ ใหญ่)
                      - หู  (หูกาง ใหญ่ เล็ก ฯ)
                      - ตา (ตาสองชั้น เล็ก โต โปน สวมแว่นสายตา แว่นกันแดด)
            2. ลักษณะเด่น ตำหนิที่จดจำง่าย
                      - แผลเป็น  (ไฝ ปาน หูด ลักษณะอย่างไร อยู่ส่วนไหนของร่างกาย)
                      - ลายสัก  (รูปอะไร ขนาด สี อยู่ส่วนไหนของร่างกาย)
                      - ความพิการ  (ตาบอด หูหนวก แขนด้วน)
                      - ท่าเดิน
                      - สำเนียงการพูด  (กลาง ใต้ อีสาน เหน่อ ฝรั่ง จีน พูดเร็ว - ช้า ฯ)
                      - การกระทำบ่อย ๆ  (การสูบบุหรี่จัด เวลาพูดชอบเอามือล้วงกระเป๋า ชอบแคะ แกะ เกา ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย)
                      - การแต่งกาย  (เสื้อ กางเกง แขน ขายาว หรือสั้น แบบของชุด เช่น เสื้อยืด ยีนส์ เชิ้ต สีใด ลายบนตัวเสื้อผ้า รองเท้าแบบใด)
                      - เครื่องประดับ (แหวน สร้อย กระเป๋า นาฬิกา แว่นตา ฯ)