คลังบทความของบล็อก

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

บ้านเรา จำเป็นต้องใช้พลังงานแสงอาทิตย์แล้วหรือยัง

           ความคิดในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1954 ในสหรัฐอเมริกา โดยการคิดค้นของ แชปปิน (Chapin)  ฟูลเลอร์ (Fuller) และ เพียร์สัน (Pearson) แห่งเบลล์เทโลโฟน (Bell Telephone) ทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ พี - เอ็น (P-N) แบบใหม่ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิคอนจนเกิดเป็น "เซลล์แสงอาทิตย์" อันแรกของโลก และจากการเล็งเห็นถึงประโยชน์ของพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่มีอยู่มากมายมหาสาร  จึงมีการค้นความวิจัยอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์ได้พัฒนาจนมีประสิทธิภาพสูงพอในเชิงพาณิชย์

            เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นประดิษฐกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง  วัสดุที่ทำเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่ สารกึ่งตัวนำ ซึ่งซิลิคอนเป็นวัสดุที่มาทำเซลล์แสงอาทิตย์มากที่สุดในบรรดาสารกึ่งตัวนำทั้งหลาย  โครงสร้างหลักของเซลล์แสงอาทิตย์ ได้แก่หัวต่อ พี-เอ็นของสารกึ่งตัวนำ  เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอนนั้นผลิตขึ้นโดย การนำแว่นผลึกซิลิคอนหนาประมาณ 200-300 ไมครอน มาแพร่ซึมสารเจือปน เพื่อสร้างหัวต่อพี-เอ็น โดยมีความลึกของชั้นแพร่ซึมหรือหัวต่อประมาณ 0.3-0.5 ไมครอน จากนั้นนำหัวต่อพี-เอ็นไปทำผิวสัมผัสทั้งทางด้านหน้ามีลวดลายเป็นรูปนิ้วมือหรือก้างปลา เพื่อให้เหลือพื้นที่รับแสงอาทิตย์มากที่สุด และในขณะเดียวกันสามารถทำหน้าที่รวบรวมกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพด้วย  เซลล์แสงอาทิตย์แต่ละชิ้นจะให้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 0.5 โวลท์ ส่วนกระแสไฟฟ้าที่ได้นั้นจะขึ้นอยู่กับความสว่างของแสงอาทิตย์ และขนาดของตัวเซลล์แสงอาทิตย์  ซึ่งโดยปกติแล้ว เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ได้รับแสงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน จะให้กระแสประมาณ 2 แอมป์ อายุการใช้งานของเซลล์แสงอาทิตย์จะยาวนานมากกว่า 20 ปี หากออกแบบและใช้งานอย่างถูกต้อง

ส่วนประกอบสำคัญของระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์มี 4 ส่วนดังนี้คือ
             1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) ประกอบขึ้นจากเซลล์แสงอาทิตย์หลาย ๆ ชึ้น มาต่อขนานหรืออนุกรม เพื่อให้ได้แรงดันกระแสตามต้องการ
             2. อุปกรณ์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Control Unit หรือ EDU) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมระหว่างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (Load) มีหน้าที่ควบคุมการคายและอัดประจุของแบตเตอรี่
             3. แบตเตอรี่ (Battery) เป็นตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ไว้ใช้เมื่อต้องการ
             4. โครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Structure)

            เมื่อพิจารณาจากส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์  จะสังเกตได้ว่า พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์โดยตรงนั้น  ไม่มีการสันดาบของเครื่องยนต์  จึงไม่ทำให้เกิดมลภาวะต่าง ๆ และส่วนประกอบต่าง ๆ ในระบบไม่มีการเคลื่อนไหว  ทำให้ไม่เกิดการสึกหรอ  ส่งผลให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามาก

การประยุกต์ใช้งานของระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์
            ในอดีตการใช้งานของเซลล์แสงอาทิตย์ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับโครงการอวกาศ ดาวเทียม หรือยานอวกาศ ที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรอยู่ในอวกาศ  จะใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าทั้งสิ้น  ในปัจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์เริ่มมีแนวโน้มและบทบาทสำคัญอย่างมากในการใช้งานเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าบนพื้นโลก  เพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง ถ่านหินที่ใกล้จะหมดไป และมีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างปัจจุบัน  การพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งในกิจกรรมภาครัฐบาลและเอกชน จึงได้นำระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์มาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
              1. ผลิตไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้แสงสว่าง และใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
              2. ไฟถนน  สัญญาณไฟเตือนภัย
              3. ปั๊มน้ำเพื่อการเกษตร การชลประทาน 
              4. เครื่องมือสื่อสาร และเครื่องตรวจระยะไกล
              5. สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น นาฬิกา เครื่องคิดเลข ฯ

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลและระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์

1.ประสิทธิภาพ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล :                                     ระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์ :
            เป็นเทคโนโลยีเก่าที่มีประสิทธิภาพต่ำ                     เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีการทดลองให้มีประสิทธิภาพ ณ โรงงานผลิต ประมาณ 20-35%       ประสิทธิภาพ ณ ที่ใช้งานสูงกว่า และวัดผลได้แน่
แต่ประสิทธิภาพ ณ ที่ใช้งานได้เพียง 10-20%           นอน เนื่องจาก
ทั้งนี้เพราะสาเหตุ คือ                                                           - มีระบบการทำงานที่ง่ายกว่า
            - ใช้งานที่ขนาดต่ำกว่าที่ออกแบบไว้                       - ไม่ต้องการเชื้อเพลิง
            - ขาดการบำรุงรักษา                                                - มีชิ้นส่วนเสื่อมสภาพน้อยชิ้นกว่า
            - ใช้อะไหล่ที่ไม่เหมาะสม                                        - มีอายุการใช้งานสูงกว่า
            - มีความเสื่อมสภาพของเครื่องจักรกล           
        
 2. ความเชื่อถือได้ของระบบ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล :                                      ระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์ :
            มักหยุดทำงานเป็นประจำ เนื่องจากสาเหตุ            ทนทานต่อการใช้งานทุกสภาวะ เนื่องจากดังต่อไปนี้ คือ                                                                        - มีอุปกรณ์ส่วนประกอบน้อยชิ้น และได้  
            - ขาดอะไหล่ในการซ่อมบำรุง                         รับการห่อหุ้ม ทนทานทุกสภาวะอากาศ
            - ขาดน้ำมันเชื้อเพลิง                                             - ไม่ต้องการเชื้อเพลิง
            - คุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำ                                  - ปริมาณแดดในเมืองไทยมีมากเพียงพอ
            - ขาดช่างผู้ชำนาญในการเดินเครื่องและซ่อม       - ไม่ต้องการการซ่อมบำรุง  

  3. มลภาวะและอันตราย

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล :                                      ระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์ :
            สร้างมลภาวะแก่คน สัตว์ สิ่งของ เนื่องจาก              เป็นพลังงานที่สะอาดที่สุด เนื่องจาก
            - มีควันจากการเผาผลาญเชื้อเพลิง                          - ปราศจาก กลิ่น ควัน เสียง และความ 
            - มีเสียงจากการสันดาป                                   ร้อน  
            - มีความร้อน                                                            - ปราศจากอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่ง  
            - มีกลิ่น                                                            ของ
            - มีอันตรายจากส่วนเคลื่อนไหวของเครื่อง     
จักรกล
            - มีการระเบิดจากเชื้อเพลิง
                                                                                                
  4. การลงทุน
            ในขนาดปริมาณการใช้พลังงานระหว่างวันละ 0-25 กิโลวัตต์ ระบบไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ให้ต้นทุนรวมที่ตำกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล :                                       ระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์ :
            - ใช้เงินลงทุนขั้นต้นต่ำ                                             - ใช้เงินลงทุนขั้นต้นสูง
            - เสียค่าเชื้อเพลิงสูง                                                  - ไม่ต้องเสียค่าเชื้อเพลิง  
            - เสียค่าอะไหล่                                                          - ไม่ต้องเสียค่าอะไหล่  
            - เสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและเดินเครื่อง        - ค่าบำรุงรักษาต่ำมาก เฉพาะแบตเตอรี

            โดยสรุป จากการพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล และระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในทุก ๆ ด้านจะเห็นว่าระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์เสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนขั้นต้นสูงเท่านั้น แต่รายการอื่น ๆ เป็นข้อได้เปรียบ และให้ประโยชน์อย่างมหาศาลมากกว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล และในปัจจุบันที่น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีให้ใช้ได้ในโลกนี้ต่อไปอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหันมาสนใจพลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยกันทุมเทและพัฒนาระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนต่อไป
               
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์
                                                                               

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

เหตใดมนุษย์จึงมีกลิ่นตัว

           มนุษย์ทุกชนชาติ มีกลิ่นตัวกันทั้งนั้น  กลิ่นตัวเกิดจากการกระทำร่วมกันของเหงื่อกับแบคทีเรียบนผิวหนัง  กลิ่นตัวจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับอาหารการกินด้วย  มีต่อมอยู่ใต้ผิวหนัง อยู่ 2 ชนิด ที่ทำหน้าที่ขับเหงื่อออกมา
          
           ชนิดที่ 1 ต่อมแอคไครน์ (Eccrine gland) มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย เหงื่อส่วนใหญ่หลั่งออกมาจากต่อมชนิดนี้ และเป็นเหงื่อที่ประกอบด้วย น้ำ 99 % จึงไม่ทำให้เกิดกลิ่นตัว
           ชนิดที่ 2 ต่อมอะโพไครน์ (Aprocrine gland) พบมากในบริเวณรักแร้ รอบๆ หัวนม และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์  ต่อมชนิดนี้สร้างเหงื่อที่ประกอบด้วยสารอืนทรีย์ ที่ถูกย่อยสลายได้ด้วยแบคที่เรียบนผิวหนัง ทำให้เกิดกลิ่นตัว โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ และอวัยวะสืบพันธุ์  ซึ่งเป็นแหล่งที่แบคทีเรีย เจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากมีเหงื่อออกมาก และไม่สามารถระบายความชื้นออกได้หมด ต่อมอะไพไครน์ จะเริ่มทำงานเมื่อเริ่มวัยรุ่น เป็นหนุ่มเป็นสาว  โดยปกติการอาบน้ำด้วยสบู่ธรรมดา ก็สามารถล้างกลิ่นตัวออกได้

น้ำตาลมีประโยชและโทษต่อร่างกายอย่างไร

           น้ำตาลแพง เราจะหยุดกินน้ำตาลได้มั้ย  นี่คือคำถามในสภาวะเศรษฐกิจที่ สินค้าอุปโภค บริโภค ขึ้นทุกอย่าง  ก่อนที่จะ ตัดสินใจหยุดกินน้ำตาล เรามาดูความสำคัญของน้ำตาลกันก่อน

           มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินอาหาร ที่ประกอบด้วย น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน  น้ำตาลจึงมีความสำคัญยิ่งโดยเฉพาะ น้ำตาลกลูโคส  ซึ่งน้ำตาลกลูโคสนี้ได้จาก อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต  เมื่อน้ำตาลกลูโคสในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ก็จะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งฮอโมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "อินซูลิน" อินซูลินนี้จะช่วยพาน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อ หรือเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย  เพื่อนำไปใช้ให้เกิดพลังงานส่วนหนึ่ง  และอีกส่วนหนึ่งนำไปเก็บไว้ที่ตับ และใต้ผิวหนัง โดยเปลี่ยนรูปแบบของน้ำตาลไป  น้ำตาลส่วนนี้จะเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
         
           จะเห็นว่า ฮอร์โมนจากตับอ่อน มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ เมื่อใดก็ตามที่เกิดภาวะบกพร่องของตับอ่อนในการสร้างฮอร์โมน ทำให้อินซูลินน้อยลง ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดก็จะสูงขึ้น ซึ่งมักมีค่าเกินกว่า 140 มิลกรัมเปอร์เซนต์ ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูง เกิดโรคที่เรียกว่า "เบาหวาน"   ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการ กระหายน้ำ  ปัสสาวะบ่อย  ผอมลง  เมื่อเกิดแผลก็มักจะหายช้ากว่าปกติ ชาตามมือและเท้า  ความรูสึกทางเพศจะลดลง  และในทางตรงกันข้าม ถ้าหากร่างกายขาดน้ำตาลกลูโคส ซึ่งอาจเนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินมากเกินไป จากการอดอาหารหรือเป็นโรคบางโรค หรือจากยาเสพติด ทำให้น้ำตาลกลูโคสในเลือดน้อย ก็จะเกิดภาวะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ  ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำจนแสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจนนั้น จะต้องต่ำกว่า 45 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์  อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ เป็นลม  กระวนกระวาย  เหงื่อออก  หิว  ใจสั่น  ปวดศีรษะ  ตาพร่า มัว เป็นต้น  ถ้าหากอาการขาดน้ำตาลนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ  อาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็จะหายไป และกลับเข้าสู่ร่างกายปกติได้  แต่ถ้าอาการขาดน้ำตาลนั้นนานเกินไป ผู้ป่วยจะมีอาการทางสมอง หมดสติจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ 

           เป็นอย่างไรบ้างครับ ทีนี้เราจะเลิกกินน้ำตาล ได้ไหมครับ ผมคิดว่า เรากินน้ำตาลอย่างเพียงพอ ไม่มากจนเกินไป จะดีกว่า เพราะถ้าหากเป็นโรคเบาหวานขึ้นมา ก็จะรักษาไม่หายไปตลอดชีวิต เราทำได้แค่ประคองเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

การศึกษา (วันครู 2554)

           การเรียนการสอนเพื่อให้ได้ความรู้เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ  จะต้องให้ผู้เรียน "เป็นคนดีหรือประพฤติดีด้วย"  ผมคิดว่าเราสามารถวัดความก้าวหน้าหรือผลของการศึกษา จากความเจริญก้าวหน้าหรือความเสื่อมโทรม ถอยหลัง ของสังคมประเทศนั้น ๆ
          
           ในความเป็นจริง ปัจจุบันนี้ การศึกษาได้ถูกใช้ไปในทางที่ผิด กล่าวคือ ประชาชนมุ่งเอาการศึกษาเป็นเพียงเครื่องมือหาเงิน และหาตำแหน่งหน้าที่การงานเท่านั้น สถานศึกษาก็มองเด็กเป็นลูกค้า เพื่อความอยู่รอดของตัวเอง สรุปคือ เน้นวัตถุนิยม

           ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษา จะต้องช่วยให้เด็ก มีวัฒนธรรมทางจิตใจและกาย เป็นเป้าหมายที่สำคัญ และให้มีความสามารถในการประกอบวิชาชีพ เป็นเป้าหมายรองลงมา  การศึกษาดีหรือมีความรู้สูง ย่อมหมายถึง ต้องมีความประพฤติสูงด้วย เพราะหากมีการศึกษาสูง แต่ความประพฤติต่ำ ก็เท่ากับไม่มีการศึกษา นั่นเอง 

           การเป็นดุษฎีบัณฑิต หรือด็อกเตอร์ ในเมืองไทยปัจจุบันนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ยากมาก หรือเกินเอื้อมถึง  หากแต่ การอยู่ การวางตัวให้เหมาะสมกับองค์ความรู้ ระดับ ดร. นั้นยากกว่า 

คำสอนของคนอินเดียโบราณ

           มนุษย์ควรเรียนรู้จากการดำเนินชีวิต จาก สิงห์โต 1 ประการ  นกกระสา  1 ประการ ไก่ตัวผู้ 4 ประการ  กา 5 ประการ สุนัข 6 ประการ และจากลา 3 ประการ  ดังนี้

           สิงห์โต 1 ประการ
                   - งานไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็ตาม เมื่อคนเราต้องการจะทำก็ต้องทำอย่างจริงจัง
           นกกระสา 1 ประการ
                   - รู้จักควบคุมตนเอง รู้จักกาละเทศะและกำลังของตน
           ไก่ 4 ประการ
                   - กล้าเผชิญหน้า
                   - สู้ยิบตา
                   - แบ่งสันปันส่วนระหว่างพวกพ้อง
                   - หากินด้วยการค้ยเขี่ยด้วยตัวเอง
           กา 5 ประการ
                   - หาความสุขทางเพศในที่ลับ
                   - กล้าเสี่ยงตาย
                   - สะสมอาหารและสิ่งของในเวลาอันเหมาะสม
                   - ระแวดระวังตัวอยู่เสมอ
                   - ไม่ไว้วางใจผู้ใด
           สุนัข 6 ประการ
                   - กินมาก
                   - พึงพอใจแม้กับสิ่งเล็กน้อยที่มีอยู่
                   - นอนง่าย
                   - ประสาทไว
                   - จงรักภักดีต่อเจ้านาย
                   - กล้า
           ลา 3 ประการ
                   - แม้จะเหน็ดเหนื่อยก็ยังทำงานหนักเรื่อยไป
                   - ไม่คำนึงถึงความร้อนหนาว
                   - แสดงกิริยาอาการว่าพึงพอใจอยู่เสมอ

ผู้ฉลาดที่ประพฤติปฏิบัติตามคุณสมบัติ ทั้ง 20 ประการ จะมีชัยชนะต่อศัตรูทั้งปวง

นิติภูมิ นวรัตน์  ไทยรัฐ 20 พ.ย. 51

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

อาหารขยะ อาหารแดกด่วน ฟาสต์ฟูด (Fast Food) มีโทษอย่างไร

           เพราะภารกิจ และเศรษฐกิจที่รัดตัว โดยเฉพาะคนในเมืองหรือมนุษย์เงินเดือน ทำให้มีเวลาในการปรุงอาหารน้อยลง  จึงหันมาพึ่งอาหารที่ปรุงง่าย  กินง่าย ที่เรียกว่า ฟาสต์ฟูด หรือผมเรียกว่า "อาหารแดกด่วน" อย่างเช่น แฮมเบอร์เกอร์  ฮอทด็อก พิชซ่า ซึ่งปัจจุบันดูเหมือนจะแพร่ระบาดไปทั่วโลก จนกลายเป็นค่านิยมที่คิดว่าทันสมัย 
           แต่มีข่าวล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกว่า Fast Food หรือ Junk Food (อาหารขยะ) มิได้มีคุณค่าทางโภชนาการเท่าที่ควร  เพราะเนื้อที่บดเก็บไว้นาน ๆ จะเสื่อมคุณค่าทางอาหาร  ไขมันก็จะถูกออกซิไดซ์  ซึ่งจะให้โทษมากกว่าประโยชน์  ส่วนไส้กรอกก็มีสารกันบูด และสารปรุงแต่งอื่น ๆ ซึ่งจะให้โทษต่อร่างกาย ถ้าเก็บสะสมไว้มาก ๆ
           การรับประทานอาหารขยะ เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน เพราะได้รับแต่ไขมัน แป้ง และน้ำตาลเป็นหลัก  ถ้ากินมาก ๆ จะทำให้มีผลต่อสุขภาพร่างกาย  ทำให้ป่วยเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตได้ง่าย

ขอคุณข้อมูลเบื้องต้นจาก   อำนาจ  เจริญศิลป์

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง

           1. น้ำหวานต่าง ๆ ได้แก่ น้ำหวานเข้มข้น  น้ำผลไม้ผสมอาหาร  น้ำอัดลม  เครื่องดื่มน้ำตาล
           2. อาหารที่มีน้ำตาลมาก  เช่น แยม  เยลลี่ ลูกกวาด ช๊อกโกแลต  ผลไม้กวน  ผลไม้แช่อิ่ม  ผลไม้เชื่อม  นมข้นหวาน

ผู้ป่วยเบาหวาน ควรรับประทานอาหารกี่มื้อ

            ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่หลัก คือ เช้า กลางวัน เย็น และรับประทานอาหารเมื่อถึงเวลาไม่ใช่เมื่อหิว (เพราะถ้าหิวจะทำให้รับประทานมาก)   การรับประทานอาหารเพียง 1 ถึง 2 มื้อต่อวันเป็นการเข้าใจผิด จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง  ผู้ป่วยเบาหวานบางรายที่ฉีด อินซูลีน หรือมีประวัติน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย ๆ อาจจำเป็นจะต้องรับประทานอาหารมากกว่า 3 มื้อ โดยแบ่งมืออาหาร ออกเป็น 4 - 6 มื้อ

ข้อมูลจาก  อำนาจ เจริญศิลป์

รู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นเบาหวาน

           เราต้องสำรวจหรือสังเกตุตัวเองว่ามีลักษณะอาการดังนี้หรือเปล่า

           1. มีญาติพี่น้องเป็ฯเบาหวาน (เป็นโรคทางกรรมพันธุ์)
           2. อ่อนเพลียมาก และบ่อย
           3. คันตามผิวหนัง
           4. ปัสสาวะบ่อยและมาก
           5. หิวบ่อย ตลอดเวลา
           6. ตาพร่า  มัว ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย
           7. กระหายน้ำมากกว่าปกติ
           8. เป็นแผล และฝีง่าย และรักษายาก
           9. กินจุ แต่ผอมลง
          10. ปวดเจ็บตามกล้ามเนื้อ  ชา ตามมือและเท้า
           11. หมดความรู้สึกทางเพศ

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

การซื้อโทรศัพท์แบบทัชสกรีนด์ (Touch Screen) ต้องดูอะไรบ้าง

สิ่งที่ต้องดูเมื่อเลือกซื้อมือถือ Touch Screen

           1. ขนาดจอ
                  - หากต้องการดู MV หนัง ควรใช้ขนาด 3 - 3.5 นิ้ว
                  - จอมีขนาดใหญ่จะกินไฟ ทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วขึ้น ควรเลือกเครื่องที่สามารถลดแสงสว่างหน้าจอได้
           2. ความละเอียดของจอ
                  - ความละเอียดยิ่งมากยิ่งดี เพราะจะทำให้คมชัดมากขึ้น
                  - ปัจจุบัน มือถือ Touch Screen จะมีความละเอียดตั้งแต่ 240 x 400 พิกแซล - 800 x 480 พิกเซล อัตราส่วน 16 : 9 เท่า ในระดับ HD (High Definition)
           3. ชนิดของจอ
                  - มือถือ Touch Screen ทั่วไปจะใช้จอแบบ TFT - LCD ธรรมดา
                  - ถ้าราคา 10,000 บาทขึ้นไป จะใช้หน้าจอที่มีประสิทธิภาพสูง และประหยัดพลังงาน เช่น จอ AMOLED ของ ซัมซุง
                  - ขณะนี้ SAMSUNG ได้เปิดตัว จอ Super AMOLED ออกมา ซึ่งมีความสว่างกว่า จอ AMOLED ธรรมดาถึง 5 เท่า สู้แดดได้ดีกว่า 20 % มีใช้ในรุ่น S8500 WAVE และ i8520 Halo
           4. วัสดุหน้าจอ
                  - ในรุ่นแพง ๆ จะใช้กระจกแบบ Tempered Glass ซึ่ง ทนทานและป้องกันการขีดข่วน
                  - ในรุ่นถูกๆ จะเป็นกลุ่ม Capacitive ที่ใช้กระจกพลาสติก

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะซื้อ มือถือ Touch Screen

           1. งบประมาณ
                  - ต้องเหมาะสมและยืดหยุ่น (ต้องดูเงินในกระเป๋า)
           2. ประโชชน์ใช้สอย
                  - ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าเราจำเป็นต้องใช้ฟังก์ชั่นอะไรบ้างจากมือถือเครื่องใหม่ เช่น กล้องชัด ความจุเยอะ ลงโปรแกรมเพิ่มได้ เป็นต้น บางครั้งฟังก์ชั่นมาก แต่เราไม่ได้ใช้ ก็จะทำให้ราคาสูงเกินไป เพราะ ฟังก์ชั่นยิ่งมาก ราคาก็ยิ่งสูงขึ้นด้วย
           3. เชื่อมต่อได้รวดเร็ว
                  - ระบบ Wi - Fi เชื่อมต่อได้ตรงใจเราแค่ไหน ยิ่งมีปุ่มลัดให้ยิ่งดี
           4. ดีไซน์เลือกให้เหมาะ
                  - ใช้คล่องมือ ไม่หนัก
           5. หน้าจอต้องกว้าง
                  - จอกว้าง การสัมผัสจะสะดวกขึ้น
           6. หากชอบการส่งข้อความ
                  - ให้ใช้รุ่นที่มีแป้นพิมพ์ใหญ่ แต่ถ้าชอบใช้ปากกา Stylus ก็ไม่จำเป็น
           7. ทดลองใช้งานจริง
                  - ควรทดลองใช้จริงในรุ่นที่สนใจ ก่อนซื้อ เพื่อดูการตอบสนอง เวลาสัมผัสหน้าจอหน่วงเวลาหรือไม่  ต้องใช้แรงกดมากแค่ไหน เป็นต้น

การบำรุงรักษาหน้าจอมือถือ Touch Screen ทำอย่างไร

           โทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของมนุษย์เราเสียแล้ว ฉะนั้นอย่าใช้เป็นอย่างเดียว ต้องบำรุงรักษาด้วย โดยเฉพาะรุ่นปัจจุบันที่เป็นระบบ Touch Screen  มีวิธีรักษาหน้าจอง่าย ๆ ดังนี้

            1. ติดแผ่นกันรอยถลอก เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน แรงกด สิ่งสกปรก และความชื้น
            2. ใช้ผ้าเช็ดแว่น หรือผ้าที่ไม่มีขน เช็ดทำความสะอาดหน้าจอ
            3. หากจำเป็นต้องใช้น้ำยา ให้ใช้น้ำยาสำหรับเช็ดหน้าจอ ทัชสกรีนด์ เท่านั้น ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์
            4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการตก หรือกระแทก ควรใส่ซอง ปลอก สายคล้องคอ หรือกรอบหุ้มซิลิโคน เพื่อบรรเทาความเสียหายจากการตก
            5. ไม่ควรวางเครื่องไว้ในที่อุณหภูมิสูง เช่น รถยนต์ แสงแดด เป็นต้น
            6. หากโดนน้ำ ห้ามใช้ไดว์เป่าผมเป่าเด็ดขาด  ควรดำเนินการเช็ดตามข้อ 2

ขอบคุณครับ

การเลือกซื้อ TV ความคมชัดสูง ต้องพิจารณาอะไร

           ในอนาคตทีวี จะมีความคมชัดสูง มีระบบที่จะรองรองรับเครื่องเล่น ที่สนับสนุนความบันเทิงที่แข่งขันกันมากมาย หากต้องเปลี่ยน ทีวีใหม่ ขอให้เลือกซื้อเผื่ออนาคตไว้ด้วย จะได้ไม่ปวดหัวที่หลัง
โดยมีวิธีการดูหรือเลือกซื้อดังนี้

          1. ต้องสามารถแสดงภาพในแบบ ฟูลเอชดี (Full - HD)
          2. ต้องมีช่องรับสัญญาณ HDMI (High Definition Multimedia Interface) เวอร์ชั่น 1.3 ขึ้นไป
อย่างน้อย 1 ช่องอินพุท และมีช่องเอาท์พุท ประกอบด้วย STB/PVR ในส่วนหนึ่งของเอาท์พุท HDMI
          3. ต้องมีความสามารถถอดรหัส MHEG - 5
          4. สามารถแสดงผล 24p แบบเดียวกับระบบของบลูเรย์
          5. เครื่องส่งโทรทัศน์ ต้องส่งสัญญาณ DVB-S2 เพื่อสนองตอบการรับจากโทรทัศน์ Full HD

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ตัวนำยิ่งยวด (Super Conductor) คืออะไร




          ตัวนำยิ่งยวด คือสารที่สามารนำกระแสไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้ โดยไม่มีการต้านทานเลย เรียกว่า "ความต้านทานเป็นศูนย์"  ปกติตัวนำไฟฟ้าที่เราใช้กันจะใช้ ลวดทองแดง อลูมิเนียม เงิน ที่มีอยู่ในสายไฟฟ้าทั่วไป ซึ่งโลหะตัวนำไฟฟ้าดังกล่าวนี้ แม้ว่าจะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี แต่ก็ยังมีความต้านทานอยู่ในตัวเองความต้านทานนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสูญหายหรือสูญเสียไปบางส่วน โดยจะสูญเสียในรูปของความร้อน      ดังนั้นถ้าหากสายไฟมีขนาดยาว กำลังไฟก็จะตก ที่เรียกว่า "แรงดันไฟฟ้าตก"นั่นเอง  คุณสมบัตินี้จะไม่เกิดขึ้นกับตัวนำยิ่งยวด กล่าวคือ ตัวนำยิ่งยวด มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ สารพวกนี้จะผลักสนามแม่เหล็ก เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "ไมซ์สเนอร์เอฟเฟค" (Meisser effect)


            ตัวนำยิ่งยวด ค้นพบโดย นักฟิสิกส์ชื่อ Onnens ในปี 1991 เขาได้ทดลองวัดความต้านทานทางไฟฟ้าของปรอท และพบว่า เมื่อปรอทเย็นลงจนมีอุณหภูมิประมาณ 4.2 องษาเคลวิน (K) หรือที่ -269 องศาเซลเซียส ความต้านทานทางไฟฟ้าของปรอท จะหมดไป กลายเป็นตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด

            นับจากนั้นมา นักวิทยาศาสตร์ ก็ได้คิดค้นวิจัยมาเรื่อย ๆ จนพบว่า มีโลหะอีกหลายชนิดมีสภาพเป็นตัวนำยิ่งยวดได้ เมื่อทำให้เย็นตัวลง จนถึงอุณหภูมิหนึ่งหรือต่ำกว่านั้น   อุณหภูมิสูงสุดที่โลหะยังคงมีสภาพเป็นตัวนำยิ่งยวด อยู่ได้คือประมาณ 20 องศาเคลวิน ซึ่งก็ยังต่ำมาก
            นักวิทยาศาสตร์พยายามอย่างยิ่งที่จะค้นหาตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูงขึ้น โดยเฉพาะที่ประมาณ 300 องศาเคลวิน   ปัจจุบันสามารถค้นพบตัวนำยิ่งยวดไดที่ อุณหภูมิ 98 องศาเคลวิน จากอ๊อกไซด์ของโลหะที่เรียกว่า "เซรามิก"  เช่น อ๊อกไซด์ของ Strontium, Uttrium เป็นต้น  ที่อุณหภูมิ 98 องศาเคลวิน สามารถควบคุมได้โดยใช้ไนโตรเจนเหลวซึ่งมีราคาถูก การประยุกต์ใช้งานโดยทั่วไปอยู่บนพื้นฐานที่ว่า "ตัวนำยิ่งยวด ไม่มีความต้านทานทางไฟฟ้าและมีแรงผลักกับแม่เหล็ก"  จากคุณสมบัติอันโดดเด่นนี้ต่อไปเราจะเห็นรถไฟฟ้าที่วิ่งอยู่ในเมืองใหญ่เคลื่อนที่ลอยอยู่บนเหนือรางบนสนามแม่เหล็ก  จะเห็นมอเตอร์ไฟฟ้าตัวเล็กลง แต่มีกำลังเท่ากับเครื่องยนต์หลายแรงม้า  จะเห็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ กินไฟน้อย แต่ประสิทธิภาพดีกว่าหรือเท่าเดิม  คอมพิวเตอร์ก็มีขนาดเล็กลงแต่ประมวลผลได้เร็วมากขึ้น  และที่สำคัญที่อยากเห็น คือ สายส่งไฟฟ้าที่ระโยงระยางตามท้องถนน ก็ไม่ต้องใช้สายขนาดใหญ่และมีหม้อแปลงไฟฟ้าให้รกลูกตาอีกต่อไป

ขอบคุณข้อมูลความรู้จาก  อำนาจ  เจริญศิลป์   วิทยาศาสตร์แสนเพลิน  กรุงเทพฯ : 2548