วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรือนจำภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ

วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นม. 

          ในปัจจุบันเรือนจำประเทศต่างๆได้นำ แนวคิดความร่วมมือการดำเนินงานเรือนจำระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม มาใช้ในการดำเนินงานเรือนจำให้มีประสิทธิภาพเพื่อการยอมรับและเพื่อความไว้วางใจของประชาชนในหลายประเทศ เช่น เรือนจำในสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2013 เรือนจำในสหภาพยุโรป หลายประเทศ เช่น เบลเยี่ยม เยอรมัน อิตาลี เป็นต้น ได้จัดให้มีการประชุมขึ้นในหัวข้อเรื่อง แนวโน้ม การออกแบบและการดำเนินงานเรือนจำฯ ภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เรือนจำในโรมาเนียและบัลแกเรีย เมื่อวันที่ 26 กันยายน ปี 2014 สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติเรือนจำโรมาเนีย และ ผู้อำนวยการทั่วไปของกรมราชทัณฑ์บัลแกเรียภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม ได้จัดให้มีพิธีลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเพื่อปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานเรือนจำของทั้งสองประเทศ ณ โรงแรมแกรนด์ ดิมายแอท วานา บัลแกเรีย เป็นต้น สำหรับเนื้อหา สาระ ของบทความ เรื่อง การแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเรือนจำภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม (United Nations Office on Drugs and Crime – UNODC) ที่นำเสนอในวันนี้ ได้แก่ การแก้ไขปัญหายาเสพติดของ เรือนจำในอเมริกากลางและสาธารณรัฐโดมิกัน โดยจะเป็นการกล่าวถึงความเป็นมา และการดำเนินงาน มาพอเข้าใจ โดยสังเขป ดังนี้



        สภากรรมการเรือนจำอเมริกากลางและสาธารณรัฐโดมิกัน เข้าร่วมประชุม ณ เมืองกัวเตมาลาวันที่ 11 กันยายน 2014


                สภาเรือนจำยุโรปประชุมเมื่อวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2013 ณ กรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยียม

                    สภาเรือนจำยุโรปประชุมเมื่อวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2013 ณ กรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยียม

สภาเรือนจำโรมาเนียและบัลแกเรีย ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานเรือนจำ ณ ประเทศบัลแกเรีย เมื่อ 26 กันยายน 2014

 ความเป็นมา
             ความเป็นมาของการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรือนจำอเมริกากลางและสาธารณรัฐโดมิกัน ภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.prisonsystems.eu /index.php/news พบว่า แนวคิดในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของเรือนจำอเมริกากลางและสาธารณรัฐ โดมิกัน เกิดขึ้นจากผลการสัมมนาระหว่างประเทศเพื่อการวางแนวทางนโยบายเรือนจำ ณ เมืองกัวเตมาลา เมื่อวันที่ 5 - 6 ธันวาคม 2013 จัดประชุมโดยกรมราชทัณฑ์กัวเตมาลา มีผู้แทนและผู้ประสานงานระดับภูมิภาคจากองค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC) ผู้แทนจากกรมราชทัณฑ์สาธารณรัฐโดมินิกัน คอสตาริกา เม็กซิโก และสหราชอาณาจักร ฯลฯ ผู้แทนจากองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้แทนภาคความยุติธรรมในกัวเตมาลา ผู้แทนขององค์กรสิทธิมนุษยชน ผู้แทนของมหาวิทยาลัย และผู้แทน ของสมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์ และอื่นๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 200 คน เข้าร่วมประชุม

การสัมมนาระหว่างประเทศเพื่อการวางนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเรือนจำ ณ เมืองกัวเตมาลา เมื่อวันที่ 5 - 6 ธันวาคม 2013

การสัมมนาระหว่างประเทศเพื่อการวางนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเรือนจำ ณ เมืองกัวเตมาลา เมื่อวันที่ 5 - 6 ธันวาคม 2013

การดำเนินงาน 
           การดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสภาเรือนจำอเมริกากลาง และ สาธารณรัฐโดมิกัน (CODESIP) ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.prisonsystems.eu/ พบว่าสภาเรือนจำอเมริกากลางและสาธารณรัฐโดมิกัน ได้ก่อตั้งขึ้นที่สาธารณรัฐกัวเตมาลา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2014 เป็นผล การดำเนินงานต่อยอดจากการสัมมนาระหว่างประเทศเพื่อวางนโยบาย และ แนวทางการดำเนินงานเรือนจำ ณ เมืองกัวเตมาลา เมื่อวันที่ 5 - 6 ธันวาคม 2013 ภายใต้กรอบแนวคิดความร่วมมือและนโยบายการพัฒนาเรือนจำในกัวเตมาลา โดยการสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ปฏิรูปการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและอาชญากรรมและ การปฏิบัติที่ดีที่สุดระหว่างเรือนจำของประเทศที่เข้าร่วมในสภากรรมการบริหารเรือนจำฯ โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง CODESIP จากประเทศอเมริกากลางและสาธารณรัฐโดมิกัน ได้แก่ ปานามา กัวเตมาลา สาธารณรัฐโดมินิกัน และเอลซัลวาดอร์ ส่วนประเทศฮอนดูรัส คอสตาริกา ประเทศเบลีส นิคารากัว ซึ่งทางประเทศผู้ก่อตั้งคาดว่าจะเข้าร่วมโครงการในเร็วๆนี้

บริบทว่าด้วยการแก้ไขปัญหายาเสพติดของเรือนจาไทยภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ
            ในปัจจุบันกรมราชทัณฑ์ของไทย ได้มีการดำเนินงานภายใต้แนวคิดความร่วมมือกับ กรมราชทัณฑ์ของประเทศต่างๆ เช่น การแข่งขันกีฬาราชทัณฑ์อาเซียน การร่วมประชุมประจำปีของสมาคมการราชทัณฑ์และเรือนจำระหว่างประเทศ – ICPA แต่ยังไม่มีการก่อตั้งสภากรรมการบริหารเรือนจำภายใต้แนวคิดความร่วมมือกับประเทศต่างๆในระดับภูมิภาคที่สนับสนุนโดยองค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC)
            แต่ในทางปฏิบัติในขณะนี้ได้มีหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย TIJ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักด้านการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทั้งในและต่างประเทศได้ประสานความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติด้านการป้องกันยาเสพติดและป้องกันอาชญากรรม ในการพัฒนาปรับปรุงเรือนจำ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขัง และผลักดันให้มีการปฏิบัติที่ดีต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำตามมาตรฐานสากลตามข้อกาหนดกรุงเทพ และเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 TIJ ได้รับการประสานงานจาก UNODC ให้ทำการต้อนรับ คณะผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงสาธารณสุขรัฐบาลเนปาลรวมถึงผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลที่มีความประสงค์ที่จะศึกษาดูงานเกี่ยวกับระบบงานราชทัณฑ์และการบริหารงานด้านสาธารณสุขและการป้องกันโรคเอดส์ของไทย ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง แขวงลาดยาว กรุงเทพฯ

   TIJ ภายใต้การประสานงานจาก UNODC ให้การต้อนรับคณะผู้แทนเนปาล เข้าศึกษาดูราชทัณฑ์ ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง

TIJ ต้อนรับคณะผู้แทนเนปาล 

โดยสรุป
          การแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรือนจำภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ ของสภาเรือนจำอเมริกากลางและสาธารณรัฐโดมิกัน ที่ได้ดำเนินการภายใต้ แนวคิดในการสร้างความร่วมมือการดำเนินงานเรือนจำระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค ภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC) นับเป็นนวัตกรรมใหม่ ในปี 2014 ที่เรือนจำของกรมราชทัณฑ์หลายประเทศ เช่น เบลเยี่ยม โรมาเนีย บัลแกเรีย ปานามา กัวเตมาลา สาธารณรัฐโดมินิกัน และเอลซัลวาดอร์ ได้นำมาใช้ในการดำเนินงานเรือนจำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการยอมรับและเพื่อความไว้วางใจของประชาชน สำหรับเรือนจำของประเทศไทยเรายังพบข้อมูลว่ามีการดำเนินการภายใต้แนวคิดในการสร้างความร่วมมือ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของเรือนจำของเรือนจำระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC) โดยตรง คงมีแต่เพียงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย TIJ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลักด้านการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้ประสานความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติด้านการป้องกันยาเสพติดและอาชญากรรม (UNODC) โดย ได้มีการประสานงานในบางเรื่องผ่านมาทางเรือนจำ ดังนั้น การนำบทความเรื่อง การแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรือนจำภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติของสภากรรมการบริหารเรือนจาอเมริกากลางและสาธารณรัฐโดมิกันมานำเสนอในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงบริบท / ทิศทางความเคลื่อนไหวของนวัตกรรมเรือนจำใหม่ล่าสุดในปี 2014 ของเรือนจำในประเทศต่างๆ ในระดับภูมิภาค ที่ได้ดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติด้านการป้องกันยาเสพติดและอาชญากรรม
                                                    ..................................