วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

คณะกรรมการเรือนจำ



วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.

คณะกรรมการเรือนจำที่นำเสนอในบทความนี้ คือ คณะกรรมการเรือนจำของมลรัฐเท็กซัส USA ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.lib.utexas.edu/taro/tslac/20046/tsl-20046.html พบว่า ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการเรือนจำของมลรัฐเท็กซัส ปรากฏอยู่ในหอจดหมายเหตุของรัฐเท็กซัส 1913-1933 และ 1943 เรื่อง ประวัติและระบบเรือนจำเท็กซัส ในรูปแบบของรายงานคณะกรรมการเรือนจาประจำเดือน ประกอบด้วยรายงานข้อมูลสถิติเกี่ยวกับ การดำเนินงานโดยทั่วไปของเรือนจำ เช่น จำนวนเจ้าหน้าที่ จำนวนนักโทษ การเงิน การพัสดุ และการหลบหนี เป็นต้น โดยจะเป็นการกล่าวถึง แนวคิดวิวัฒนาการ อำนาจหน้าที่ ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเรือนจำเท็กซัส และคณะกรรมการเรือนจำของไทยตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ มาตรา 44 ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ พ.. 2547 ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ (ฉบับที่ 2 ) .. 2550 และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการตรวจเรือนจำของคณะกรรมการเรือนจำ พ.. 2547 โดยสังเขป ดังนี้ 


                
คณะกรรมการเรือนจำเท็กซัสและเจ้าหน้าที่เรือนจำในปี 1930


  •  แนวคิดวิวัฒนาการ

             คณะกรรมการเรือนจำเท็กซัสเกิดขึ้นครั้งแรก ในปี คศ.1848 เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการจัดตั้งเรือนจำ 1848 ได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเรือนจำ (3 คน) โดยผู้ว่าราชการมลรัฐโดยความเห็นชอบ ของสมาชิกวุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนด กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารงานของเรือนจำโดยทั่วไป เช่น การใช้แรงงานนักโทษ การจ้างแรงงานนักโทษ การโอนนักโทษระหว่างเรือนจำมณฑล การดูแลรักษานักโทษ การเงิน การบัญชี การพัสดุ เป็นต้น โดยจะมีการทำรายงานประจำปีเสนอต่อผู้ว่าราชการมลรัฐ   ต่อมาในปี 1871 สภานิติบัญญัติได้ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้แรงงานนักโทษของเรือนจำเท็กซัสระบบต่างๆ เช่น ระบบนักโทษให้เช่า ระบบเรือนจำแรงงาน ระบบเรือนจำอุตสาหกรรม ระบบเรือนจำค่าย และ ระบบเรือนจำฟาร์ม  โดยการให้ภาคเอกชนสามารถ เช่าแรงงานนักโทษ ไปทางานในร้านค้า โรงงาน บริษัท ฟาร์ม ไร่ และ การสร้างทางรถไฟ เป็นต้น   ในปี 1883 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเรือนจำประกอบด้วยผู้ว่าราชการมลรัฐ และคณะกรรมการสองคน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย ผู้ว่าราชการมลรัฐ ในปี 1885 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเรือนจำประกอบด้วยคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการมลรัฐสามคน  ในปี 1927 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเรือนจำประกอบด้วยคณะกรรมการเก้าคน มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี ได้รับการแต่งตั้งโดย   ผู้ว่าราชการมลรัฐด้วยความเห็นชอบของวุฒิสภา ในปี 1957 ได้มีการเปลี่ยนระบบเรือนจำเท็กซัสเป็นกรม    ราชทัณฑ์เท็กซัส มีการแต่งตั้งคณะกรรมการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยสมาชิกเก้าคนได้รับการแต่งตั้งโดย ผู้ว่าราชการโดยคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา เป็นการดาเนินการภายใต้แนวคิดต่างๆที่สำคัญ เช่น
      o แนวคิดในการกำกับดูแลการบริหารงานเรือนจำในรูปแบบคณะกรรมการเรือนจำ
      o แนวคิดในการกำหนด กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารงานเรือนจำโดยทั่วไปโดยคณะกรรมการเรือนจำ
      o แนวคิดในการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม และ
      o แนวคิดในการใช้แรงงานผู้ต้องขังให้เป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ เป็นต้น 




คณะกรรมการเรือนจำมณฑลรัฐไวโอมิง 2013 


  • อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเรือนจำ

 คณะกรรมการเรือนจำมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       o การกำหนด กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารงานเรือนจำโดยทั่วไป
       o การพัฒนาระบบเรือนจำต่างๆ เช่น ระบบนักโทษให้เช่า ระบบเรือนจำแรงงาน ระบบเรือนจำอุตสาหกรรม ระบบเรือนจำค่าย และ ระบบเรือนจำฟาร์ม เป็นต้น
       o การจัดทำรายงานประจำเดือน และรายงานประจำปีเสนอต่อผู้ว่าราชการมลรัฐ ประกอบด้วยรายงาน รายงานเกี่ยวกับข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการดำเนินงานโดยทั่วไปของเรือนจำ เช่น ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวนเจ้าหน้าที่ จำนวนนักโทษ การเงิน การบัญชี การพัสดุ อาคารสถานที่ และข้อมูลสถิติการหลบหนี เป็นต้น

  • ผลการดำเนินงาน

        ในปี 1871 สภานิติบัญญัติได้ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้แรงงานนักโทษของเรือนจำเท็กซัสระบบต่างๆ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการเรือนจำ เช่น ระบบนักโทษให้เช่า ระบบเรือนจำแรงงาน ระบบเรือนจำอุตสาหกรรม ระบบเรือนจำค่าย และ ระบบเรือนจำฟาร์ม เป็นต้น โดยการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถเช่าแรงงานนักโทษ ไปทำงานในร้านค้า โรงงาน บริษัท ฟาร์ม ไร่ และ การสร้างทางรถไฟ ระหว่างปี 1927-1957 คณะกรรมการเรือนจำได้มีการปฏิรูปเรือนจำเท็กซัสในระบบต่างๆ เช่น ระบบการเรียนการสอน การสันทนาการ การพัฒนาเรือนจำ Rodeo และระบบการจำแนกผู้ต้องขังวิธีการใหม่ เป็นต้น 

  • คณะกรรมการเรือนจำของไทย

          คณะกรรมการเรือนจำของไทยได้แก่คณะกรรมการเรือนจำตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มาตรา 44 และคณะกรรมการเรือนจำตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการตรวจเรือนจำของคณะกรรมการเรือนจำ พ.. 2547 ประกอบด้วยเนื้อหาสาระสาคัญในเรื่องต่างๆ เช่น
         o พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ได้บัญญัติเรื่องคณะกรรมการเรือนจำ ไว้ในหมวด 11 การตรวจเรือนจำ มาตรา 44 ความว่ารัฐมนตรีมีอำนาจตั้งคณะกรรมการเรือนจำและกำหนดอานาจหน้าที่ของคณะกรรมการในการตรวจพิจารณากิจการของเรือนจำ และให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานเรือนจำ

คณะกรรมการนี้มีจานวนไม่เกิน 5 นาย ซึ่งจะได้แต่งตั้งจาก
         - ข้าราชการตุลาการสังกัดกระทรวงยุติธรรม
         - ข้าราชการสังกัดกระทรวงธรรมการ
         - ข้าราชการสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ
         - ข้าราชการสังกัดกระทรวงการคลัง
         - ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ
         - เจ้าพนักงานแพทย์
         - เจ้าพนักงานอัยการ และ
         - ข้าราชการหรือบุคคลอื่นตามแต่รัฐมนตรีเห็นสมควร 

       o ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการตรวจเรือนจำของคณะกรรมการเรือนจำ พ.. 2547

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราช 2479 แต่งตั้ง คณะกรรมการเรือนจำ เพื่อทำหน้าที่ตรวจตราให้ความเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินกิจการของเรือนจำ และตรวจสอบแนะนำการปฏิบัติงานแก่เจ้าพนักงานเรือนจำ โดยระเบียบกระทรวงยุติธรรมฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการเรือนจำในเรื่องต่างๆ  เช่น อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเรือนจำ กำหนดการตรวจเรือนจำประจาปี บัตรประจำตัวคณะกรรมการเรือนจำ ค่าที่พักและค่าพาหนะ เป็นต้น
 
  • แนวคิดของคณะกรรมการเรือนจำไทย
        แนวคิดของคณะกรรมการเรือนจำไทยตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479มาตรา 44 และคณะกรรมการเรือนจำตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการตรวจเรือนจำของคณะกรรมการเรือนจำ พ.. 2547
        o แนวคิดในการตรวจเรือนจำโดยคณะกรรมการเรือนจำ
        o แนวคิดในการจัดทำรายงานผลการตรวจเสนอความเห็นเกี่ยวกับกิจการเรือนจำ/ทัณฑสถาน หรือการแนะนำเจ้าพนักงานเรือนจำ/ทัณฑสถาน เพื่อประกอบการพิจารณาของรัฐมนตรี
        o แนวคิดในการให้ภาครัฐภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจเรือนจำ มาตรา 44 (8)

  • อำนาจหน้าที่คณะกรรมการเรือนจำไทย
        คณะกรรมการเรือนจำของไทยตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มาตรา 44 และคณะกรรมการเรือนจำตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการตรวจเรือนจำของคณะกรรมการเรือนจำ พ.. 2547    มีอำนาจหน้าที่ดังนี
        o การตรวจเรือนจำ
        o การเข้าไปในสถานที่ปฏิบัติงาน หรือเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทุกประเภทของเรือนจำ/ทัณฑสถาน
        o การสั่งให้เรือนจำ/ทัณฑสถาน หรือเจ้าพนักงานเรือนจำ ชี้แจง ให้ถ้อยคา ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อประกอบการตรวจเรือนจำของคณะกรรมการ
        o การจัดทำรายงานผลการตรวจ การให้คำแนะนำ ให้รัฐมนตรีทราบ
        o การเสนอความเห็นเกี่ยวกับกิจการเรือนจำ/ทัณฑสถานหรือการแนะนำเจ้าพนักงานเรือนจำ
 /ทัณฑสถาน เพื่อประกอบการพิจารณาของรัฐมนตรี

  •  ผลการดำเนินงาน ยังไม่พบข้อมูลการดาเนินงาน
  •  บริบทว่าด้วยคณะกรรมการเรือนจำไทย
          คณะกรรมการเรือนจำไทยมีหน่วยงานที่มีแนวคิด ภารกิจ หน้าที่ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับกับภารกิจของคณะกรรมการเรือนจำไทย ได้แก่
     o สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์พ.. 2547 และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ (ฉบับที่ 2 ) .. 2550 มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแนวทางการพัฒนางานราชทัณฑ์ มาตรการและระเบียบ ติดตามประเมินผล และรับคำร้องเรียนของผู้ต้องขังหรือประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น
     o ผู้ตรวจราชการกรม ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกรม พ.. 2540 ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกรม (ฉบับที่ 2) .. 2546 ผู้ตรวจราชการกรมมีอำนาจหน้าที่การตรวจเรือนจำ การเผยแพร่นโยบาย การรับฟังหรือสดับตรับฟังทุกข์สุข การแสวงหาหรือสอบข้อเท็จจริง สืบสวน สอบสวน การทำรายงานเสนอแนะต่ออธิบดี เป็นต้น

         โดยสรุป การนำเสนอเรื่องคณะกรรมการเรือนจำของมลรัฐเท็กซัส USA ในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด อำนาจหน้าที่ ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเรือนจำเท็กซัสและคณะกรรมการเรือนจำไทยว่ามีจุดเด่น จุดด้อย จุดแข็ง จุดอ่อน ลักษณะเหมือนหรือลักษณะต่างกันอย่างไร เพื่อนำจุดเด่นหรือจุดแข็งมาใช้ในการพัฒนาคณะกรรมการเรือนจำไทย ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า แนวคิดของคณะกรรมการเรือนจำของมลรัฐเท็กซัส ดำเนินการภายใต้แนวคิดในการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม แนวคิดในการกำกับดูแลการบริหารงานเรือนจำในรูปแบบคณะกรรมการเรือนจำ แนวคิดในการกำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารงานเรือนจำโดยทั่วไปโดยคณะกรรมการเรือนจำ และแนวคิดในการใช้แรงงานผู้ต้องขังให้เป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีทั้งลักษณะเหมือนและลักษณะต่างกับแนวคิดของคณะกรรมการเรือนจำไทย กล่าวคือ ลักษณะเหมือน คือ แนวคิดในการให้ภาครัฐภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนหน้าที่ของคณะกรรมการเรือนจำเท็กซัส มีทั้งลักษณะเหมือนและลักษณะต่าง คือ ลักษณะเหมือน การตรวจเรือนจำ การจัดทำรายงานของคณะกรรมการเรือนจำ ลักษณะต่าง คือ คณะกรรมการเรือนจำเท็กซัสมีหน้าที่ในการกำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารงานเรือนจำโดยทั่วไปและการพัฒนาระบบเรือนจำต่างๆ เช่น ระบบนักโทษ ให้เช่า ระบบเรือนจำแรงงาน ระบบเรือนจำอุตสาหกรรม ระบบเรือนจค่าย และ ระบบเรือนจำฟาร์มในขณะที่คณะกรรมการเรือนจำไทยยังไม่พบข้อมูลการดำเนินงาน จึงกล่าวได้ว่าจุดเด่นหรือจุดแข็งของคณะกรรมการเรือนจำของมลรัฐเท็กซัส ก็คือในส่วนของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเรือนจำเท็กซัสมีหน้าที่ในการกำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารงานเรือนจำโดยทั่วไปและการพัฒนาระบบเรือนจำต่างๆ ซึ่งมีลักษณะเด่นกว่าคณะกรรมการเรือนจำไทย เพราะในทางปฏิบัติภารกิจบางส่วนของคณะกรรมการเรือนจำไทย ยังมีภารกิจที่ซ้าซ้อนกับภารกิจของสภา ที่ปรึกษาการราชทัณฑ์และผู้ตรวจราชการกรม ดังกล่าวข้างต้น 
..................................

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ทำไมแมวเอาขาลงได้เสมอ

เมื่อแมวตกจากที่สูง มันสามารถกลับตัวเอาขาลงได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากแมวมีลำตัวอ่อน และมีสัญชาตญาณในเรื่องทิศทางที่ดีมาก แม้เวลาตกจากที่สูงมันสามารถกลับตัวกลางอากาศได้โดยอัตโนมัติเพื่อเอาส่วนขาของมันลงสู่พื้นก่อน ข้อต่อสะโพกและไหล่ของแมวก็ยืดหยุ่นได้คล้ายขดลวดสปริง ด้วยเหตุนี้แมวจึงทนต่อแรงกดอัดจากการตกจากที่สูงมาก ๆ ได้ เป็นไปได้ว่าความสามารถพิเศษเช่นนี้เป็นที่มาของความเชื่อแต่ครั้งโบราณว่า แมวมี 9 ชีวิต