วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์



วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.



              กรมราชทัณฑ์ได้นำเสนอร่างระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ฉบับที่............ต่อมากระทรวงยุติธรรมได้ออกระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ พ.. 2547 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน 2547 กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 25 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา แรงงานสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่เห็นสมควร เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ เสนอแนะนโยบาย แนวทางในการพัฒนาและสนับสนุนภารกิจของกรมราชทัณฑ์ และกระทรวงยุติธรรมได้มีคำสั่ง ที่ 658/2547 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 แต่งตั้งกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ พ.. 2547 โดยได้แต่งตั้ง นายกสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ รองนายกสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ และกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ รวมทั้งสิ้น 25 คน โดยให้คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ พ.. 2547 (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.correct.go.th/comnet1/council/) 








การประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ปี 2548





  • แนวคิด

        แนวคิดของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ พ.. 2547 เช่น

แนวคิดในการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานราชทัณฑ์ ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ความว่ากำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 25 คน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา แรงงานสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่เห็นสมควร...”



         1) แนวคิดในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม เป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนของการบังคับโทษจำคุก ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ความว่ากำหนดให้มี

การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อทำหน้าที่ ให้คำแนะนำ เสนอแนะนโยบาย แนวทางในการพัฒนาและสนับสนุนภารกิจของกรมราชทัณฑ์...”



         2) แนวคิดในการบริหารงานเรือนจำให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นแนวคิดการแก่ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังผ่านการให้การศึกษาอบรมทักษะ อาชีพ ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ความว่ากำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ และแรงงาน...”



         3) แนวคิดในการปกป้องคุ้มครองสังคม เป็นการช่วยปกป้องคุ้มครองปกป้องสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ความว่ากำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานด้านสังคม...”



         4) แนวคิดในการให้ศึกษาแก่ผู้ต้องขัง เป็นแนวคิดการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังผ่านการให้การศึกษาอบรมทักษะ อาชีพ ทั้งทางด้านการศึกษาสายสามัญ สายอาชีพ และธรรมศึกษา ดังความที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ความว่ากำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก หน่วยงานด้านการศึกษาและแรงงาน...”



         5) แนวคิดในการพัฒนาบุคลากร เป็นแนวคิดที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ข้อ 12 (3) ความว่า สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ มีหน้าที่เสนอแนะการพัฒนางานด้านวิชาการและการพัฒนาบุคลากรของกรมราชทัณฑ์



         6) แนวคิดในการพัฒนาระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติ เป็นแนวคิดที่ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาฯ ข้อ 12 (3) ความว่า สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ มีหน้าที่เสนอแนะมาตรการ และระเบียบที่เหมาะสม ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง การพัฒนาและแก้ไขพฤตินิสัยผู้ต้องขังและสนับสนุนผู้พ้นโทษเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมเป็นต้น










กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ (บางส่วน)


  • อำนาจหน้าที่

         อำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ปรากฏอยู่ในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษา การราชทัณฑ์ พ.. 2547 ข้อ 12 ดังนี้



         - เสนอแนะนโยบายและแนวทางในการพัฒนางานราชทัณฑ์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามบริบทแห่งกฎหมายไทยและมาตรฐานสากล

         - เสนอแนะมาตรการ และระเบียบที่เหมาะสม ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง การพัฒนาและแก้ไขพฤตินิสัยผู้ต้องขังและสนับสนุนผู้พ้นโทษเพื่อการดำรงชีวิตในสังคม

         - เสนอแนะการพัฒนางานด้านวิชาการและการพัฒนาบุคลากรของกรมราชทัณฑ์

         - ประสานงาน ระดมทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกมาใช้ในการควบคุมและพัฒนาผู้ต้องขัง

         - ติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค

         - รับคำร้องเรียนของผู้ต้องขัง หรือประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ตามระเบียบที่สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์กำหนด

         - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์มอบหมาย

         - ดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควรและชอบด้วยกฎหมายเพื่อสนับสนุนภารกิจของกรมราชทัณฑ์
 







บรรยากาศการประชุมกรรมการสภาการราชทัณฑ์ ปี 2548


  • ผลการดาเนินงาน

        ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ ได้จัดให้มีการประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็น คำแนะนำ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและ แนวทางในการพัฒนาและสนับสนุนภารกิจของกรมราชทัณฑ์ ดังนี้

         - การประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 1/2548 ในวันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2548 เวลา 10.00 . ณ ห้องสัมมนากรมราชทัณฑ์ ชั้น 3 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน

         - การประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 2/2548 ในวันอังคารที่ 5 เมษายน 2548 เวลา 09.30 . ณ ห้องสัมมนากรมราชทัณฑ์ ชั้น 3

         - การประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 3/2548 ในวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2548 เวลา 09.30 . ณ ชวนชมอาเขต ทัณฑสถานหญิงกลาง
 

  • ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์


          กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางในการพัฒนางานราชทัณฑ์ ในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 



     - ด้านการควบคุมผู้ต้องขัง



            กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะในการควบคุมผู้ต้องขังในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านการควบคุม ระบบเรือนจำความมั่นคงต่ำ ระบบการพักการลงโทษ ระบบการจำคุกในวันหยุดสำหรับผู้ต้องขังที่กระทำความผิดโดยประมาท หรือ ลหุโทษ และการให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัย เป็นต้น
 

     - ด้านการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง



            กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบการฝึกอบรม ทักษะอาชีพ ทั้งสายสามัญ สายอาชีพ ธรรมศึกษา การเกษตรและอุตสาหกรรม ระบบบ้านกึ่งวิถี รวมตลอดถึงการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฝึกทักษะ อาชีพ แก่ผู้ต้องขัง เป็นต้น
 

     - ด้านสิทธิมนุษยชนในเรือนจำและทัณฑสถาน



            กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในเรือนจำและ ทัณฑสถาน ในเรื่องต่างๆ เช่น การส่งเสริมบุคลากรของกรมราชทัณฑ์ให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน การปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมตลอดถึงการจัดตั้งคณะทำงาน (บุคคลภายนอกร่วมด้วย) เพื่อตรวจสอบและติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในเรือนจำและ ทัณฑสถาน
 

     - การบริหารและพัฒนาบุคลากร



            กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะให้มีการส่งเสริมความก้าวหน้า ในวิชาชีพราชทัณฑ์ และมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมและการสัมมนาให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เช่น หลักสูตรการป้องกันการก่อเหตุร้ายในเรือนจำ การสร้างเครือข่ายด้านการข่าวกรองอาชญากรรม การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ การส่งเสริมให้มีการศึกษาดูงาน การจัดรางวัลผู้คุมยอดเยี่ยมประจำปีสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรที่มีความรู้และทักษะในการเขียนบทความเพื่อที่จะได้ส่งไปลงหนังสือพิมพ์ วารสารทางวิชาการ รวมทั้งการเขียนบทความไปอ่านทางวิทยุกระจายเสียงเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งานประจำและงานพิเศษของกรมฯ การส่งเสริมให้ข้าราชการศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ รวมตลอดถึงการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการวิจัยให้เจ้าหน้าที่สามารถเสนอและดำเนินการวิจัยโครงการต่างๆได้เอง โดยการสนับสนุนของกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น


      - การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจของกรมราชทัณฑ์



           กรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในภารกิจของกรมราชทัณฑ์ ในเรื่องต่างๆ เช่น ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจของกรมราชทัณฑ์ (การฝึกอบรม ทักษะ อาชีพ) การส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษา เข้ามาทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการราชทัณฑ์ให้กว้างขวางขึ้น การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอาสาสมัครคุมประพฤติสาหรับผู้ต้องขังที่ได้รับการพักการลงโทษ โดยการคุมประพฤติ (Parole) การทำข้อตกลง (MOU) กับผู้ประกอบการที่สมัครใจเกี่ยวกับการรับผู้ต้องขังที่พ้นโทษหรือที่ได้รับการพักการลงโทษโดยการคุม

ประพฤติ (Parole) ที่ได้รับใบรับรองการพัฒนาฝีมือแรงงานจากกรมราชทัณฑ์ การเปิดเรือนจำสู่สังคมโดยการทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ การทำข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาฝีมือแรงงานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมตลอดถึงประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการในการรับผู้พ้นโทษเข้าทำงานหรือรับงานไปทำที่บ้าน เป็นต้น
 

  • บริบทว่าด้วยกรรมการสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์

         สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ยังมีหน่วยงานที่มีแนวคิด ภารกิจ หน้าที่ เกี่ยวข้องเชื่อมโยงหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับกับภารกิจของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ได้แก่

         - คณะกรรมการเรือนจำ ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 มาตรา 44 และคณะกรรมการเรือนจำตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการตรวจเรือนจำของคณะกรรมการเรือนจำ พ.. 2547 มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจเรือนจำ การจัดทำรายงานผลการตรวจ การให้คำแนะนำ ให้รัฐมนตรีทราบ และการเสนอความเห็นเกี่ยวกับกิจการเรือนจำ/ทัณฑสถาน หรือการแนะนำเจ้าพนักงานเรือนจำ/ทัณฑสถาน เพื่อประกอบ การพิจารณาของรัฐมนตรี

         - ผู้ตรวจราชการกรม ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกรม พ.. 2540 ระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกรม (ฉบับที่ 2) .. 2546 ผู้ตรวจราชการกรมมีอำนาจหน้าที่การตรวจเรือนจำ การเผยแพร่นโยบาย การรับฟังหรือสดับตรับฟังทุกข์สุข การแสวงหาหรือสอบข้อเท็จจริง สืบสวน สอบสวน การทำรายงานเสนอแนะต่ออธิบดี เป็นต้น

         - สมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน (American Correctional Association) เป็นสมาคม ที่เก่าแก่ที่สุดที่พัฒนาเฉพาะสาหรับผู้ปฏิบัติงานในอาชีพราชทัณฑ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1870 มีการประชุมทุกปีในสหรัฐอเมริกา มีภารกิจในการพัฒนางานราชทัณฑ์ ทั้งในส่วนของระบบงานราชทัณฑ์ และพัฒนาเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ให้เป็นมืออาชีพ ดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในงานราชทัณฑ์ ดำเนินงานศึกษาวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานราชทัณฑ์ ส่งเสริมจริยธรรมในวิชาชีพราชทัณฑ์ เป็นต้น (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.aca.org/ACA_Prod_ IMIS/ACA_Member/Home/ACA_Member/Home.aspx) 




การประชุมสมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน



โดยสรุป
         สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ถือกำเนิดเกิดขึ้นครั้งแรกใน ปี 2547 ภายหลังจากที่กระทรวงยุติธรรม ได้ออกระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ พ.. 2547 ประกาศ ณ วันที่ 5 เมษายน 2547 กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ มีการจัดประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ครั้งแรกเมื่อ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2548 ถึงปัจจุบันมีการประชุมรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยมีการประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ดำเนินงานภายใต้แนวคิดในการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานราชทัณฑ์ แนวคิดในการพัฒนากระบวนการยุติธรรม แนวคิดในการบริหารงานเรือนจำให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แนวคิดในการปกป้องคุ้มครองสังคม แนวคิดในการให้ศึกษาแก่ผู้ต้องขัง แนวคิดในการพัฒนาบุคลากร และแนวคิดในการพัฒนาระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติ อันเป็นแนวคิดมาตรฐานสากลของระบบเรือนจำโดยทั่วไปในปัจจุบันลักษณะคล้ายคลึงกับกับภารกิจของสมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน จึงกล่าวได้ว่าแนวคิดของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ เป็นแนวคิดที่นำงานราชทัณฑ์สู่เส้นทางของความเป็นราชทัณฑ์มืออาชีพและนำไปสู่การการยอมรับของประชาชนในงานราชทัณฑ์อีกเส้นทางหนึ่ง แต่เนื่องจากการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ขาดความต่อเนื่อง โดยภายหลังจากที่ได้มีการประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ครั้งแรกและครั้งล่าสุดในปี 2548 ถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 10 ปี ที่ยังไม่มีการประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ จึงกล่าวได้ว่าปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์คือ ปัญหาการขาดความต่อเนื่องในนโยบายการดาเนินงานของกรมราชทัณฑ์ ทั้งที่ การจัดประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ในปี 2548 คณะกรรมการการจัดประชุมสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์ ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนางานราชทัณฑ์ เช่น ความเห็นและข้อเสนอแนะด้านการควบคุมผู้ต้องขังที่ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านการควบคุม ด้านการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง ด้านสิทธิมนุษยชน ในเรือนจำและทัณฑสถาน และด้านการบริหารและพัฒนาบุคลากรที่ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการวิจัยให้เจ้าหน้าที่สามารถเสนอและดำเนินการวิจัยโครงการต่างๆได้เองโดยการสนับสนุนของกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานราชทัณฑ์ ให้เป็นมาตรฐานสากล จึงเห็นว่าถ้ากรมราชทัณฑ์ได้นำนโยบายเกี่ยวกับสภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์มาดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่องก็จะทำให้สภาที่ปรึกษาการราชทัณฑ์สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินงานราชทัณฑ์ การพัฒนางานราชทัณฑ์ให้ไปสู่เส้นทางของราชทัณฑ์มืออาชีพ ช่วยพัฒนางานราชทัณฑ์ให้มีมาตรฐานสากล ช่วยปกป้องสังคมและ นำงานราชทัณฑ์ไปสู่เป้าหมายคือการยอมรับของประชาชนในการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์และกระบวนการยุติธรรมของไทยโดยภาพรวม 
............................................

ราชทัณฑ์มืออาชีพ



วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.

          คำว่าราชทัณฑ์มืออาชีพเป็นคำที่พบโดยทั่วไปในงานราชทัณฑ์ทุกประเทศมีทั้งที่เป็นการกล่าวในลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เช่น ราชทัณฑ์มืออาชีพมาเลเซีย กรมราชทัณฑ์มาเลเซีย ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาราชทัณฑ์มืออำชีพไว้ในวิสัยทัศน์กรมฯ ความว่ากรมราชทัณฑ์มาเลเซีย เป็นองค์กรมืออาชีพ ในด้านการควบคุมและแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง.....” ราชทัณฑ์มืออาชีพสิงค์โปร ได้มีการพัฒนาทักษะพื้นฐาน ที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องขังในระหว่างต้องโทษและยกระดับของความเชี่ยวชาญหรือราชทัณฑ์มืออาชีพด้านการติดตามดูแลภายหลังพ้นโทษ ราชทัณฑ์มืออาชีพนอร์เวย์ มีการวางแผนพัฒนาราชทัณฑ์มืออาชีพตั้งแต่แรกเริ่มเข้าทำงานโดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่เรือนจำ (Prison staff) จะต้องผ่านการศึกษาหลักสูตรสองปีจากสถาบันราชทัณฑ์และผ่านการเรียนวิชากฎหมาย สิทธิมนุษยชน และจริยธรรม ราชทัณฑ์มืออาชีพออสเตรเลียใต้ ได้มีการพัฒนาราชทัณฑ์มืออาชีพด้านการเยี่ยมญาติ โดยทุกเรือนจำในออสเตรเลียใต้ ได้มีการจัดทำเว็บไซต์สำหรับการจองห้องพัก การนัดหมาย กำหนดวัน เวลา เข้าเยี่ยมผู้ต้องขังของญาติ ราชทัณฑ์มืออาชีพสหรัฐอเมริกา มีการพัฒนาราชทัณฑ์มืออาชีพมากที่สุด โดยจะพบว่า ในเว็บไซต์ กรมราชทัณฑ์ของ USA ทุกมลรัฐ (50 มลรัฐ) ทั้งเรือนจำของรัฐและเรือนจำเอกชนมีการให้ความสำคัญและการพัฒนาพนักงานราชทัณฑ์มืออาชีพที่จะต้องมีทักษะ มีความรู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุม รักษาความปลอดภัย และด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง มีคุณลักษณะ สำคัญประการหนึ่ง คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต (integrity) มาใช้ในการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ มีโอกาสก้าวหน้าเติบโตในวิชาชีพ มีค่าตอบแทนหรือเงินเดือนสูง ในระดับที่ใกล้เคียงกับเงินเดือนของพนักงานอัยการและศาล โดยมีเป้าหมาย คือ ความไว้วางใจของประชาชนสำหรับราชทัณฑ์มืออำชีพที่นำเสนอในบทความนี้เป็นการนำเสนอราชทัณฑ์มืออาชีพของกรมราชทัณฑ์มลรัฐโอคลาโอมา USA ทั้งเรือนจำของรัฐ และเรือนจำเอกชนที่บริหารงานโดยบริษัทราชทัณฑ์อเมริกา จำกัด (CCA) โดยจะเป็นการกล่าวถึงราชทัณฑ์มืออาชีพในหัวข้อความหมาย คุณลักษณะ ทักษะ กฎหมายที่รองรับ การพัฒนา และตัวชี้วัดของพนักงานราชทัณฑ์มืออำชีพ ตามข้อมูลจากเว็บไชต์ http://www.o-c-p.org/ และเว็บไชต์ http://cca.com/careers โดยสังเขป ดังนี้

  


ราชทัณฑ์โอคลาโอมามืออาชีพ (Oklahoma Corrections Professionals)





  • ความหมายของราชทัณฑ์มืออาชีพ

         ราชทัณฑ์มืออาชีพ หมายถึง พนักงานราชทัณฑ์ที่ทำงานอยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นบังคับโทษจำคุก ที่ต้องใช้ทักษะพิเศษเฉพาะในการปฏิบัติงาน มีความเพียร ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความมุ่งมั่นปรารถนาที่จะช่วยแก้ไขฟื้นฟูปรับทัศนคติผู้ต้องขังให้มีพัฒนาการในเชิงบวก ปกป้องชุมชนให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมเพื่อความไว้วางใจของประชำชน และเป็นงานที่มีค่ำตอบแทนสูง (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http:// discovercorrections .com/)

        ราชทัณฑ์มืออาชีพ หมายถึง พนักงานราชทัณฑ์ที่ต้องใช้ความรู้เชี่ยวชาญและทักษะพิเศษในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ได้แก่ ความรู้เชี่ยวชาญและทักษะด้านการแก้ไข ความรู้เชี่ยวชาญและทักษะด้านการควบคุม โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ ความซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรมประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ต้องขัง มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขฟื้นฟูปรับทัศนคติผู้ต้องขังให้มีพัฒนาการในเชิงบวก ปกป้องชุมชนให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมเพื่อความไว้วางใจของประชำชน (ผู้เขียน


 

ราชทัณฑ์มืออาชีพ 



  • คุณลักษณะของพนักงานราชทัณฑ์มืออาชีพ

         o ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง

         o มีความซื่อสัตย์สุจริต

         o ต้องทุ่มเทความเพียรมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานด้านการแก้ไข ดูแลผู้กระทำผิด ค้นหำวิธีที่จะช่วยให้ผู้กระทำผิดเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต มีพัฒนาการในเชิงบวก รับผิดชอบต่อครอบครัวและชุมชนเพื่อให้ชุมชนและประชำชนมีความปลอดภัย

         o มีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการ

         o เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน

         o มีความตั้งใจที่จะทำงานไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว

         o มีมนุษยสัมพันธ์ รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีการเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกันในอาชีพ เป็นต้น 


  • ทักษะของพนักงานราชทัณฑ์มืออาชีพ


         o ทักษะเชี่ยวชาญด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง พนักงานราชทัณฑ์มืออำชีพจะต้องมีทักษะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ทักษะด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง หรือเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไข เป็นการแก้ไขฟื้นฟูผ่านกำรอบรมความรู้สายสำมัญ สายอาชีพ ธรรมศึกษา จริยะศึกษา และทักษะการใช้ชีวิต ซึ่งจะต้องใช้ทักษะความรู้เชี่ยวชาญด้านวิชำการและโปรแกรมแก้ไขด้านต่ำงๆ เพื่อให้ผู้ต้องขังมีทัศนคติในเชิงบวก มีความรู้ ทักษะ อำชีพ สามารถทำงานมีรายได้ระหว่างต้องโทษและนำไปประกอบอำชีพเลี้ยงตนเองได้ภายหลังพ้นโทษ รวมตลอดถึงทำให้ง่ายต่อการควบคุมและรักษาความปลอดภัย



         o ทักษะเชี่ยวชาญด้านการควบคุมและรักษาความปลอดภัย พนักงานราชทัณฑ์มืออำชีพจะต้องมีทักษะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ทักษะด้านการควบคุมและรักษาความปลอดภัยหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะต้องมีความรู้ทักษะต่ำงๆ ที่หลากหลาย เช่น
             - การตรวจค้น จู่โจม
             - การปกครองผู้ต้องขังให้อยู่ในระเบียบวินัย

             - การป้องกันการหลบหนี

             - การใช้อาวุธปืน

             - การป้องกันตนเอง

             - การหาข่าว  
                 1) เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของเรือนจำ

                 2) ค้ำของเถื่อน

                 3) ค้ำยำเสพติด

                 4) ฟอกเงิน

                 5) ขู่กรรโชก

             - การควบคุมการจลาจล

             - การเจรจาต่อรอง

             - การระงับเหตุร้าย

             - การดับเพลิง

             - อื่นๆ

         o การให้บริการด้านสุขภาพ

             - การปฐมพยาบาล

             - การดูแลรักษาผู้ต้องขังป่วย

             - อื่นๆ





แพทย์ราชทัณฑ์มืออาชีพ (CCA)


         o ด้านวิชาการ การศึกษา และ วิชาชีพ

             - ทักษะการใช้ชีวิต

             - การศึกษาสายสามัญ

             - ธรรมศึกษา

             - การศึกษาสายอาชีพ

         o การสุขาภิบาล

         o ด้านยาเสพติด

            - การป้องกันและแก้ไขปัญหายำเสพติด

            - การบำบัดการเสพติด

         o การสืบสวนสอบสวน

            - ผู้ต้องขัง

            - เจ้าหน้าที่

         o อื่นๆ



  •  การพัฒนาพนักงานราชทัณฑ์มืออาชีพ
          o การฝึกอบรมทักษะ ได้แก่ ทักษะด้านการควบคุมและรักษาความปลอดภัย ทักษะด้านการแก้ไขฟื้นฟู และพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรต่ำงๆ เช่น

             - การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ เรือนจำรัฐโอคลาโอมาและเรือนจำ CCA มีการปฐมนิเทศ 40 ชั่วโมงสำหรับพนักงานใหม่ทุกคน โดยมีเนื้อหาสาระของการฝึกอบรมด้านต่างๆ เช่น ประวัติความเป็นมา ปรัชญาเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของเรือนจำ นโยบายและขั้นตอนการอำนวยความสะดวก หน้าที่ความรับผิดชอบในนโยบายบุคลากร มาตรฐานการปฏิบัติของพนักงาน ความปลอดภัยของหน่วยงาน การจัดการผู้ที่กระทำผิดแบบพิเศษและกรณีฉุกเฉิน ตามมาตรฐานของสมาคมเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อเมริกัน (ACA) เป็นต้น


   การพัฒนาพนักงานราชทัณฑ์มืออาชีพ 


             - การฝึกอบรมพนักงานราชทัณฑ์พื้นฐาน ก่อนการปฏิบัติหน้าที่ด้านการควบคุมและรักษาความปลอดภัยและการแก้ไขฟื้นฟู เจ้าพนักงานราชทัณฑ์จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ 40 ชั่วโมง จะต่อด้วยการฝึกอบรมพนักงานราชทัณฑ์พื้นฐาน 120 ชั่วโมง โดยมีเนื้อหาหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมเจ้าพนักงานอเมริกัน (ACA) ประกอบด้วย ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้ต้องขัง กลยุทธ์การป้องกันตนเอง การควบคุมดูแลผู้ต้องขัง การปฐมพยาบาล / CPR เทคนิคการสื่อสารระหว่างบุคคล ประเด็นทางกฎหมายและสิทธิของผู้ต้องขัง การแก้ปัญหากรณีเกิดเหตุวิกฤติ การควบคุมและรักษาความปลอดภัย และการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ เช่น

                 1) เทคนิคการสืบสวนสอบสวน

                 2) การดำเนินการทางวินัย

                 3) การใช้อาวุธปืน

                 4) การป้องกันตนเอง

                 5) การหาข่าว

                 6) การควบคุมการจลาจล

                 7) การเจรจาต่อรอง

                 8) การป้องกันและระงับเหตุร้าย

                 9) การดับเพลิง

               10) การให้บริการด้านสุขภาพ

               11) การสุขาภิบาล

               12) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

               13) การสืบสวนสอบสวน

               14) ทักษะการใช้ชีวิต

               15) การดูแลช่วยเหลือเหยื่อ เป็นต้น 




การฝึกทักษะการปฐมพยาบาลสาหรับพนักงานราชทัณฑ์พื้นฐาน





การฝึกทักษะการใช้อาวุธปืนสาหรับพนักงานราชทัณฑ์พื้นฐาน


         o การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม

         o ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ พัฒนาความเป็นมืออำชีพ ผ่านการฝึกอบรมความรู้ ทักษะ ที่หลากหลาย และใช้หลักความรู้ความสามารถ เป็นเกณฑ์การพิจารณาในการเลื่อนระดับที่สูงขึ้นรวมตลอดถึงการกำหนดสายความก้าวหน้าที่ชัดเจน

         o ส่งเสริมการวิจัยและวิชาการ มีการส่งเสริมการวิจัยและวิชาการด้านการราชทัณฑ์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะในการจัดทำโครงการที่ต้องใช้งบประมาณลงทุนสูงที่จะต้องมีงานวิจัยรองรับ รวมตลอดถึงการวิจัยประเมินผลการนำผลงานวิจัยไปใช้ซึ่งแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของการวิจัย

         o ยึดหลักสิทธิมนุษยชนเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 


  • ตัวชี้วัดและเป้าหมายของราชทัณฑ์มืออาชีพ

         ตัวชี้วัดของราชทัณฑ์มืออำชีพ ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.corrections .com /news /article/25158-integrity-and-the-correctional-professional พบว่า ตัวชี้วัดของราชทัณฑ์มืออาชีพสามารถแสดงผ่านกลุ่มมิติต่างๆได้หลายกลุ่มมิติ เช่น กลุ่มมิติพนักงานราชทัณฑ์ กลุ่มมิติของผู้ที่กระทำผิด กลุ่มมิติครอบครัวของผู้กระทำผิด กลุ่มมิติระบบยุติธรรมทางอาญาและกลุ่มมิติของประชำชนทั่วไป โดยแต่ละกลุ่มจะแสดงผลทดสอบตัวชี้วัดของราชทัณฑ์มืออาชีพ ดังนี้

         o มิติพนักงานราชทัณฑ์ เป็นมิติที่ราชทัณฑ์มืออำชีพจะต้องได้รับการยอมรับจากเจ้าพนักงานราชทัณฑ์อื่นๆ ในด้านความซื่อสัตย์สุจริต และด้านการประพฤติปฏิบัติตนที่เหมาะสมเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพื่อนพนักงานราชทัณฑ์และผู้กระทำผิด



         o มิติผู้ที่กระทาผิด เป็นมิติที่ราชทัณฑ์มืออำชีพจะต้องได้รับการยอมรับจากผู้ที่กระทำผิดในด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดด้านต่างๆ เช่น การดูแลทุกข์สุข กิจกรรมสันทนาการ การอนามัยและสุขาภิบาล การรักษาพยาบาล การแก้ไขฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ เป็นต้น



         o มิติครอบครัวของผู้ที่กระทาผิด เป็นมิติที่ราชทัณฑ์มืออาชีพจะต้องได้รับการยอมรับจากครอบครัวของผู้ที่กระทำผิดในด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดและความซื่อสัตย์สุจริตที่จะต้องไม่มีพฤติกรรมในการสัญญาและเรียกรับสิ่งของจากญาติของผู้กระทำผิด เป็นต้น



         o มิติระบบยุติธรรมทางอาญา เป็นมิติที่ราชทัณฑ์มืออาชีพจะต้องได้รับการยอมรับจากหน่วยงานในระบบยุติธรรมทางอาญาทั้งในด้านการปฏิบัติตามกฎหมายนโยบายและแนวทางการปฏิบัติ ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผู้กระทำผิด เป็นต้น



         o มิติสาธารณะชนทั่วไป เป็นมิติที่ราชทัณฑ์มืออาชีพจะต้องได้รับการยอมรับจากสาธารณะชนทั่วไป ในด้านปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนของหน่วยงาน ด้านการดูแลผู้กระทำผิดอย่างมีมนุษยธรรม ด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้ที่กระทำผิด และการปกป้องประชาชนทั่วไปจากผู้ที่กระทำผิด เป็นต้น



         o เป้าหมายของข้าราชการราชทัณฑ์มืออาชีพ เป้าหมายสูงสุดของราชทัณฑ์ มืออาชีพ คือ การได้รับความไว้วางใจจากประชาชน



  • ด้านความก้าวหน้าและผลตอบแทนของราชทัณฑ์มืออาชีพ

         o ผลตอบแทนของราชทัณฑ์มืออาชีพประเภทเงินเดือน ราชทัณฑ์มืออาชีพจะต้องมีเงินเดือนอย่างเพียงพอที่จะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเงิน (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http:// criminologycareers.about.com/od/Career_Profiles/a/Career-Profile-Corrections-Officer.htm เงินเดือนเฉลี่ยของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 39,000 ดอลล่าร์ ต่อปี เจ้าหน้าที่ระดับล่างสุดเริ่มต้นที่ 26,000 ดอลล่าร์ และระดับสูงสุดอยู่ที่ 67,000 ดอลล่าร์ ต่อปีทั้งนี้ อัตราเงินเดือนของแต่ละมลรัฐมากน้อยขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับนโยบายของมลรัฐ)

         o โอกาสสำหรับการเติบโตเป็นราชทัณฑ์มืออำชีพ มีการวางแผนระยะยาว มีความชัดเจนไม่เปลี่ยนหลักเกณฑ์กำรสอบคัดเลือกบ่อยครั้ง ยึดหลักความรู้ความสามารถ และหลักระบบคุณธรรมเป็นเกณฑ์ในการก้าวไปสู่ความก้าวหน้า

         o มีการวิจัยประเมินผลหลักเกณฑ์ความเจริญก้าวหน้าของพนักงานราชทัณฑ์มืออำชีพ หรือหลักเกณฑ์การคัดเลือก การสอบ เลื่อนระดับที่จะต้องยึดหลักความรู้ความสามารถ คุณลักษณะ ทักษะ และความรู้เชี่ยวชาญ ชัดเจน แน่นอน ไม่เปลี่ยนหลักเกณฑ์การคัดเลือกการสอบบ่อยครั้งหรือทุกครั้งที่มีการสอบเพราะการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การสอบเลื่อนระดับบ่อยครั้ง ถือเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาพนักงานราชทัณฑ์มืออาชีพ



         o มีระบบที่สร้างความมั่นคงในอชีพ 





  ราชทัณฑ์มืออาชีพ



  • กฎหมายที่รองรับราชทัณฑ์มืออาชีพ


        ข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของสหประชาชาติ ค.. 1955 (Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners 1955) ข้อ 46 ความว่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทุกระดับชั้นควรได้รับการสรรหาอย่างเหมาะสม และ อย่างระมัดระวังเนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้ความซื่อสัตย์ สุจริต มนุษยธรรม และความเป็นวิชาชีพทั้งนี้ เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง ตามแนวคิดทฤษฎีอาญาว่าด้วยการลงโทษเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู ที่ได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังทั้งในระหว่างต้องโทษและติดตามดูแลภายหลังพ้นโทษ ตามความที่ปรากฏอยู่ในข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำฯ ดังกล่าว ข้อ 65 ความว่า การรักษาเยียวยาผู้ต้องขังตามคาพิพากษาให้จาคุกหรือมาตรการอื่นที่คล้ายคลึงกันนั้นมีเป้าประสงค์ เพื่อที่จะก่อให้เกิดการเคารพกฎหมายและทำให้เขาช่วยเหลือตนเองได้ เมื่อได้รับการปล่อยตัว เช่น ช่วยส่งเสริมการรู้จักช่วยเหลือตนเองและพัฒนาสำนึกแห่งความรับผิดชอบและข้อ 66 ความว่าในท้ายที่สุดแล้วจะมีการใช้วิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมในการพัฒนาผู้ต้องขังหลังจากได้รับการปล่อยตัววิธีการดังกล่าว ได้แก่ การใช้หลักศาสนา การศึกษาอบรม การฝึกอำชีพ การสังคมสงเคราะห์เฉพาะ9 าย การจัดหางาน การให้คำปรึกษาแนะนำ การเสริมสร้างจริยธรรม โดยคำนึงถึงความต้องการ ความจำเป็น ประวัติทางสังคม ประวัติกำรกระทำผิดรวมถึงสุขภาพทางกายและจิตใจของบุคคลนั้น”  

 


โดยสรุป

         การดำเนินงานราชทัณฑ์มืออาชีพของกรมราชทัณฑ์มลรัฐโอคลาโอมา ทั้งเรือนจำของรัฐและเรือนจำเอกชน (CCA) เป็นการดำเนินงานตามข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของสหประชาชาติ ค.. 1955 และมาตรฐานของสมาคมวิชาชีพราชทัณฑ์อเมริกัน ที่ได้กำหนดให้มีการพัฒนางานราชทัณฑ์ให้สู่ความเป็นวิชาชีพ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะราชทัณฑ์มืออาชีพ ประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ คือ คุณลักษณะด้านความซื่อสัตย์สุจริต การประพฤติตนที่เหมาะสมเป็นตัวอย่างที่ดี มีความมุ่งมั่นและความเพียรในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้านทักษะราชทัณฑ์มืออาชีพ ประกอบด้วยทักษะที่สำคัญ คือ ทักษะด้านการควบคุมรักษาความปลอดภัย และทักษะด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง ด้านโอกาสความก้าวหน้า มีการวางแผนพัฒนาพนักงานราชทัณฑ์มืออาชีพระยะยาว ผ่านการกำหนดคุณลักษณะ การฝึกอบรมทักษะ ด้านต่ำงๆ ยึดหลักความรู้ความสามารถ ทักษะ และความรู้เชี่ยวชาญ ชัดเจน แน่นอน ด้านค่าตอบแทน ได้กำหนดให้เงินเดือนของราชทัณฑ์มืออาชีพมีอัตรา ที่สูงในระดับที่ใกล้เคียงกับผู้พิพากษาและอัยการซึ่งมีความเพียงพอที่จะทำให้เกิดเสถียรภาพทำงานการเงิน ด้านเป้าหมายของราชทัณฑ์มืออาชีพ คือ การได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในด้านการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ดังนั้น ในกรณีของกรมราชทัณฑ์ของประเทศไทย ถ้าประสงค์จะพัฒนางานราชทัณฑ์ไปสู่ราชทัณฑ์มืออาชีพ ตามแนวทางของกรมราชทัณฑ์มลรัฐโอคลาโอมาและเรือนจำเอกชน CCA นั้น เห็นว่าจะต้องเป็นการพัฒนาไปพร้อมๆกัน ทั้ง 5 ด้าน ดังกล่าว โดยเฉพาะโอกาสสำหรับความก้าวหน้าและการเติบโตของราชทัณฑ์มืออาชีพ  ที่ยึดหลักความรู้ความสามารถ ทักษะ และความรู้เชี่ยวชาญ ชัดเจน แน่นอน รวมตลอดถึงคุณลักษณะด้านความซื่อสัตย์สุจริตของพนักงานราชทัณฑ์มืออาชีพ เพราะถ้าไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ถือว่าเป็นราชทัณฑ์มืออาชีพ



........................................