คลังบทความของบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

น้ำตาลมีประโยชและโทษต่อร่างกายอย่างไร

           น้ำตาลแพง เราจะหยุดกินน้ำตาลได้มั้ย  นี่คือคำถามในสภาวะเศรษฐกิจที่ สินค้าอุปโภค บริโภค ขึ้นทุกอย่าง  ก่อนที่จะ ตัดสินใจหยุดกินน้ำตาล เรามาดูความสำคัญของน้ำตาลกันก่อน

           มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินอาหาร ที่ประกอบด้วย น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน  น้ำตาลจึงมีความสำคัญยิ่งโดยเฉพาะ น้ำตาลกลูโคส  ซึ่งน้ำตาลกลูโคสนี้ได้จาก อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต  เมื่อน้ำตาลกลูโคสในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ก็จะกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งฮอโมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "อินซูลิน" อินซูลินนี้จะช่วยพาน้ำตาลจากเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อ หรือเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย  เพื่อนำไปใช้ให้เกิดพลังงานส่วนหนึ่ง  และอีกส่วนหนึ่งนำไปเก็บไว้ที่ตับ และใต้ผิวหนัง โดยเปลี่ยนรูปแบบของน้ำตาลไป  น้ำตาลส่วนนี้จะเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
         
           จะเห็นว่า ฮอร์โมนจากตับอ่อน มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ เมื่อใดก็ตามที่เกิดภาวะบกพร่องของตับอ่อนในการสร้างฮอร์โมน ทำให้อินซูลินน้อยลง ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดก็จะสูงขึ้น ซึ่งมักมีค่าเกินกว่า 140 มิลกรัมเปอร์เซนต์ ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูง เกิดโรคที่เรียกว่า "เบาหวาน"   ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการ กระหายน้ำ  ปัสสาวะบ่อย  ผอมลง  เมื่อเกิดแผลก็มักจะหายช้ากว่าปกติ ชาตามมือและเท้า  ความรูสึกทางเพศจะลดลง  และในทางตรงกันข้าม ถ้าหากร่างกายขาดน้ำตาลกลูโคส ซึ่งอาจเนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินมากเกินไป จากการอดอาหารหรือเป็นโรคบางโรค หรือจากยาเสพติด ทำให้น้ำตาลกลูโคสในเลือดน้อย ก็จะเกิดภาวะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ  ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำจนแสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจนนั้น จะต้องต่ำกว่า 45 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์  อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ เป็นลม  กระวนกระวาย  เหงื่อออก  หิว  ใจสั่น  ปวดศีรษะ  ตาพร่า มัว เป็นต้น  ถ้าหากอาการขาดน้ำตาลนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ  อาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็จะหายไป และกลับเข้าสู่ร่างกายปกติได้  แต่ถ้าอาการขาดน้ำตาลนั้นนานเกินไป ผู้ป่วยจะมีอาการทางสมอง หมดสติจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ 

           เป็นอย่างไรบ้างครับ ทีนี้เราจะเลิกกินน้ำตาล ได้ไหมครับ ผมคิดว่า เรากินน้ำตาลอย่างเพียงพอ ไม่มากจนเกินไป จะดีกว่า เพราะถ้าหากเป็นโรคเบาหวานขึ้นมา ก็จะรักษาไม่หายไปตลอดชีวิต เราทำได้แค่ประคองเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

น้อมรับข้อคิดเห็นครับ